Logo
บริษัท สุมิพล จำกัด
Sumipol Co.,Ltd

บริษัท สุมิพล จำกัด
Sumipol Co.,Ltd

ข่าวสารความเคลื่อนไหว

องค์ความรู้

งานกลึง
งานกลึง คือ การตัดโลหะโดยให้ชิ้นงาน( work piece) หมุนรอบตัวเอง โดยมีดกลึงเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงาน การกลึงมีสองลักษณะใหญ่คือ 1.) การกลึงปาดหน้า คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง (across the work) 2.) การกลึงปอก คือ การตัดโลหะโดยให้มีดตัดเคลื่อนที่ตัดชิ้นงานไปตามแนวขนานกับแนวแกนของชิ้น งาน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการของการกลึงปอกคืออัตราป้อน (Feed Rate) ความเร็วตัด (Cutting Speed) ระยะป้อนลึก (Depth of Cut) มีดกลึง (Cutting Tool) และชิ้นงานที่ต้องการทำการตัดเฉือน (Workpiece) และเมื่อมีกระบวนการในการกลึงปอกเกิดขึ้น ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ขนาดของชิ้นงาน (Workpiece Dimension) ความละเอียดของผิวชิ้นงาน (Surface Roughness) เศษกลึง (Chip) การสึกหรอของมีดกลึง (Tool Wear)
วิธีการใช้เครื่องมือวัดความละเอียด
แคลลิเปอร์แบบเลื่อนได้ หรือ แคลลิเปอร์แบบเวอร์เนีย (slide or vernier callipera) ดังที่แสดงไว้ในรูป เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในงานวัดละเอียดแบบหนึ่ง ประกอบด้วยไม้บรรทัดเหล็ก (ปัจจุบันมีแบบพลาสติกด้วย) ที่มีขาคงที่อยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง และขาอีกข้างหนึ่งเลื่อนได้ ขาล่างทั้งสองใช้วัดภายนอก เช่นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเส้น ส่วนขาบนทั้งคู่ใช้วัดภายใน เช่น วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของหลอดแก้ว เป็นต้น สเกลอันสั้นบนเขาที่เลื่อนได้แบ่งออกเป็น ๑๐ ช่อง เท่า ๆ กัน เรียกว่า เวอร์เนียร์ คำนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้ค้นพบ คือ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส เวอร์เนียร์ช่วยให้อ่านทศนิยมตำแหน่งที่สองของการวัดเป็นเซนติเมตรได้โดยไม่ ต้องกะประมาณด้วยสายตา วิธีอ่านเวอร์เนียร์ สำหรับการใช้สเกลที่แบ่งเป็นมิลลิเมตร เวอร์เนียร์จะยาว ๙ มิลลิเมตร และแบ่งเป็น ๑๐ ช่องเท่า ๆ กัน ดังนั้น แต่ละช่องของเวอร์เนียร์จะแตกต่างกับแต่ละช่องของสเกลหลัก เท่ากับ ๐.๑ มิลลิเมตร หรือ ๐.๐๑ เซนติเมตร เวอร์เนียร์เลื่อนไปตามสเกลจนกระทั่งขาแตะกับปลายวัตถุที่จะวัด จากแผนภาพ แสดงสเกลและเวอร์เนียร์ซึ่งอ่านค่าได้ ๖.๕ มิลลิเมตร หรือ ๐.๖๕ เซนติเมตร โดย ๑. อ่านค่าที่สเกล(ส่วนที่เป็นด้าม) จะอ่านได้ค่า ๖ มิลลิเมตร (สังเกตที่ตำแห่ง ศูนย์ของเวอร์เนียร์เริ่มในตำแห่งใด บนขีดของสเกลที่ด้าม) ในรูป ศูนย์อยู่ระหว่าง ขีด ๖ - ๗ ๒. อ่านค่าที่สเกลของเวอร์เนียร์ จะอ่านได้ค่า ๐.๕ (เพราะขีดที่สเกลเวอร์เนียร์ขีดที่ ๕ ตรงกับตำแหน่งของสเกลที่ด้ามมากที่สุด) สังเกตว่าขีดสเกลเวอร์เนียร์ขีดอื่น ๆ ไม่ตรงกับตำแหน่งขีดใด ๆ ในสเกล ๓. นำค่าที่ได้ในข้อ ๑ + ๒ จะได้ค่าที่อ่านได้ คือ ๖ + ๐.๕ = ๖.๕ มิลลิเมตร หรือ ๐.๖๕ เซนติเมตร สรุปได้ว่า ทศนิยมตำแหน่งที่สองของการวัด (หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร) คือ จำนวนขีดของเวอร์เนียร์ที่ตรงกับขีดบนสเกล