Logo
บริษัท ยูโร สแกน จำกัด
EUROSCAN CO.,LTD.
  • 97
  • 703,569

นิยามของ Disinfection VS Sterilization

16/07/2557 11:51:13 1,465

Disinfection (การทำลายเชื้อ) 

คือกระบวนการทำให้จำนวนเชื้อจุลชีพที่มีชีวิตลดลงจนไม่สามารถก่อโรคได้ ขบวนการนี้ไม่อาจทำลาย Prion และจุลชีพที่มีสปอร์

Sterilization (การทำให้ปราศจากเชื้อ)

คือกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อจุลชีพที่มีชีวิตทุกชนิดทั้งที่ก่อโรค และไม่ก่อโรค รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรียซึ่งปนเปื้อนอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของหรือเครื่องมือที่ต้องการทำให้ปราศจากเชื้อ โดยกระบวนการกำจัดทำลายนั้นไม่ทำให้คุณภาพของสิ่งของ หรือเครื่องมือนั้นๆเสื่อม หรือเสียสภาพ

ทำไมจึงต้องมีกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อและทำลายเชื้อ (Sterilization and Disinfection)?

การทำให้ปราศจากเชื้อเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ข้อมูลสถิติในสหรัฐอเมริกา/ปี 5,000 โรงพยาบาล

1.1 จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ 1,200,000 ราย

1.2 จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ 1,200 ราย

1.3 เกิดจากการทำให้ปราศจากเชื้อที่ผิดพลาด 10,000 - 100,000 ราย (1 - 10%)

1.4 การทำให้ปราศจากเชื้อที่ผิดพลาดส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต 12 - 120 ราย

—ค่าใช้จ่ายเชื้อใช้รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล—ใช้เวลาในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 8,676,000 วันต่อปี
—ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย 4,532,000,000 เหรียญสหรัฐ

 

ข้อมูลสถิติในประเทศไทย/ปี

—อัตราการติดเชื้อ                                7.3  %
—จำนวนคนไข้ติดเชื้อ/ปี              300,000  ราย
—จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต               30,000  ราย
—อยู่โรงพยาบาลนานขึ้น                   5 - 7   วัน
—ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย           3,000   ล้านบาท

การนึ่งภายใต้ความดัน หรือการ Autoclave

—เป็นวิธีการทางกายภาพที่ใช้ความร้อนชื้นในการทำให้ปราศจากเชื้อ
—กลไกคือ การทำให้เอนไซม์และโปรตีนในเซลล์ของจุลชีพเกิดการแข็งตัวเสียสภาพ (Coagulation) โดยการนำพาความร้อนด้วยน้ำ ทำให้สามารถใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า และเวลาน้อยกว่าการทำลายเชื้อด้วยความร้อนแห้ง
—Autoclave เป็นภาชนะปิดที่ทนต่อแรงดันระดับสูงได้ อากาศในหม้อนึ่งจะถูกแทนที่ด้วยไอน้ำภายใต้ความดันที่กำหนดซึ่งสูงกว่าความดันบรรยากาศ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอที่อุณหภูมิสูงกว่าภาวะปกติ (100C) ทำให้ไอน้ำสามารถซึมผ่านไปฆ่าเชื้อจุลชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ชนิดของเครื่อง Autoclave 

—แบ่งตามลักษณะการกำจัดอากาศออกจากเครื่องได้เป็น 3 ชนิด
—Gravity Displacement Sterilizer
—Pre-vacuum Stream Sterilizer
—Flash Sterilizer ความสัมพันธ์ระหว่างความดัน อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการ Autoclave
 
 
การทำงานของ Stream Sterilizer

แบ่งเป็น 3 สภาวะดังต่อไปนี้

1. สภาวะการเพิ่มอุณหภูมิ/ความดัน (Come up time หรือ Pretreatment)

2. การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization หรือ Exposure time)

3. การอบแห้ง (Drying หรือ Postreatment)

ความสัมพันธ์ระหว่างความดัน อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการ Autoclave

ความดัน

(ปอนด์/ตารางนิ้ว)

อุณหภูมิ (°C) เวลาที่ใช้ (นาที)
15 121 15
20 126 10
30 134 3

 

 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารที่แนบ