Logo
บริษัท ไคเซอร์ บิซ จำกัด
Kaiser Biz Company Limited
  • 17
  • 2,182,402

ประเภทของเครื่องเชื่อม

28/09/2558 11:42:11 1,556


ประเภทของเครื่องเชื่อม

  

     1. ตู้เชื่อม TIG หรือที่เราเรียกว่า เครื่องเชื่อมอาร์กอน นั่นเอง เครื่องเชื่อม TIG ก็มีทั้งเชื่อมอาร์กอนอย่างเดียวและเชื่อมได้ 2 อย่าง เชื่อมธูปและเชื่อมอะลูมิเนียม(คือระบบAC)ที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า เครื่องเชื่อมระบบ AC/DC นั่นเอง

       ช่างโดยทั่วไปเข้าใจผิดว่า 2 ระบบเสียง่าย 3 ระบบเสียง่าย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะคนขายไม่ได้อธิบายรายละเอียดการใช้ หรือไปพบแต่เครื่องคุณภาพต่ำ เลยเข้าใจผิดไปกันใหญ่ เครื่องเชื่อมที่มี 2 ระบบก็จะมีสวิตช์ เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว(+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว(-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูปสายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ(-)และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก(+)แทน ซึ่งคนขายบางคนไม่รู้และไม่เข้าใจก็เลยไม่อธิบายให้คนใช้ฟังคนใช้พอมาใช้แล้วก็เลยเข้าใจผิดว่าเสีย เชื่อมไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเครื่องไม่เป็นอะไรเลย จะอยู่ที่เราใช้ไม่เข้าใจ คนขายบางคนก็ไม่เข้าใจและอธิบายไม่ถูก

ส่วนเครืองระบบ AC/DC

AC คือ เครื่องเชื่อมระบบที่ใช้กับการเชื่อมอะลูมิเนียมซื่งเครื่องเล็กจะมี 2 ระบบ และ 3 ระบบ


- 2 ระบบคือการเชื่อมอะลูมิเนียมกับเชื่อมอาร์กอน
- ส่วน 3 ระบบก็คือ เชื่อมอะลูมิเนียม เชื่อมอาร์กอน และเชื่อมเหล็ก

        การที่จะเลือกเครื่องเชื่อม ถ้าเราเป็นช่าง ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่มี Am ตั้งแต่ 200Am ขึ้นไป และต้องเป็น 200Amจริง เพราะมีบางยี่ห้อใช้ 160Am แล้วจูนปรับเปลี่ยนให้เป็น 200Am ซึ่งผู้ซื้ออย่างเราอาจจะไม่รู้


     

           2. ตู้เชื่อม ARC หรือ MMA ก็คือเครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมเหล็ก เครื่องเชื่อมไฟฟ้า จะเป็นเครื่องเชื่อมที่มีระบบ Transformer (ระบบหม้อแปลง) และ Inverter (ระบบอินเวอร์เตอร์) ระบบหม้อแปลง จะมีน้ำหนักมาก ราคาถูก เราสังเกตุง่ายๆคือน้ำหนักจะมากและกินไฟ ในท้องตลาด มีบางยี่ห้อ เครื่องเชื่อมเป็นระบบหม้อแปลง(Transformer)แท้ๆแต่ดันไปคิดว่าเป็นระบบ Inverter (ระบบอินเวอร์เตอร์) อาจจะเป็นเพราะร้านยังไม่เข้าใจ ฟังแต่ผู้ขายแล้วบอกต่อ เราเป็นช่างหรือใช้งานมากก็ควรจะใช้ 200Amขึ้นไป บางยี่ห้อจะขายแต่ตัวเล็ก 140,160,180 Am นั้นสำหรับคนที่เชื่อมเป็นและใช้งานนิดหน่อย แต่ถ้าเป็นช่างควรใช้ตั้งแต่ 200,250,400,500 Amขึ้นไปครับ สำหรับเครื่อง ARC ราคา 140,160,180 Am ราคาแทบไม่แตกต่างจาก 200Am เลย


 

      3. เครื่องตัดพลาสม่า CUT คือ เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) ก็จะมีหลายรุ่น แต่ถ้าเราเป็นช่างก็ควรใช้ตั้งแต่ CUT 40 ขึ้นไป ซึ่งจะตัดได้ตั้งแต่ 0.3-12mm แต่ต้องขึ้นอยู่กับหัวตัดด้วยเพราะว่ามีหลายรุ่น และหลายเกรด


 

          4. เครื่องเชื่อม IGBT ย่อมาจาก Insulatate Gate Bipolar Transistor เป็นอุปกรณ์ที่เอาข้อดีของทรานซิสเตอร์ BJT กับข้อดีของ MOSFET มารวมกัน ซึ่ง BJT มีข้อดีในด้าน การใช้เป็นตัวขยายสัญญาณ ทนกระแสได้สูง ส่วน MOSFET มีข้อดีในด้านการควบคุม ด้วยแรงดัน ความเร็วในการสวิตช์ที่เร็วกว่า การนำเอาเทคโนโลยีทั้งสองนี้มารวมกัน คือการนำเอาโครงสร้างส่วนนำกระแสของ BJT กับส่วนควบคุม MOSFET มารวมกัน ดังนั้นจะเห็นว่าเครื่องเชื่อม IGBT ยังคงเป็น Bipolar Transistor อยู่แต่ใช้ Insulatate Gate มาควบคุมแทน

เอกสารที่แนบ