Logo
สบู่​สมุนไพร​
Herbal soap

สมุนไพรน่ารู้

10/05/2560 00:00:00 1,463

เถาวัลย์เปรียงเขียนโดย admin, แก้ไขล่าสุด 2011-04-17 04:01:07

เถาวัลย์เปรียง สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดเอว แก้กษัย

?เถาวัลย์เปรียง? มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth หรือที่รู้จัดในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสน ย่านเหมาะ มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย รูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่องดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดอกเหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ชื่ออื่น ๆ : เครือตาปา (โคราช), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียง (ไทยภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.

วงศ์ : PAPILIONEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่

ใบ : จะเป็นใบประกอบ ลักษณะจะเป็นใบกลม และเล็กคล้ายใบของต้นอันชัน ใบจะหนาและแข็ง มีใบย่อยอยู่ประมาณ 7 ใบ

ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ดอกนั้นจะออกดกมาก และจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ

เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เถา และราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก

ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ขึ้นง่าย มักขึ้นเองตามชายป่า และที่โล่งทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ในเถานั้นจะเป็นวง ๆ คล้ายเถาคันแดง เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ใช้กันทุกจังหวัด

ที่มา : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม


เถาเอ็นอ่อนเขียนโดย admin, แก้ไขล่าสุด 2011-04-17 04:04:02

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ

คนภาคกลางเรียก เถาเอ็นอ่อน และเมื่อย คนเชียงใหม่เรียกใกล้เคียงหน่อยว่า เครือเถาเอ็น แต่บางทีคนเหนือก็เรียกว่า ตีนเป็ดเครือ ใกล้เคียงกับคนสุราษฎร์ธานีเรียกว่า หมอนตีนเป็ด กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า นอออหมี คนชานแม่ฮ่องสอนเรียกว่า กวน คนใต้ปัตตานีเรียกว่า หญ้าลิเลน นี่ก็ความแตกต่างเรื่องชื่อไทยๆท้องถิ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis buchanani Roem.& Schult. อยู่ในวงศ์ ASCLEPIADACEAE พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีลักษณะประจำพันธุ์ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดเล็ก ยาว 3-5 เมตร มีน้ำยางสีขาวทุกส่วน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอก ออกเป็นช่อ ช่อละ 3-5 คู่ กลีบดอก 5 กลีบ รูปลิ่ม โค้งลงแล้วกระดกขึ้น

ผลรูปเขาควายก้นติดกัน เมื่อยังอ่อนสีเขียวแก่สีน้ำตาล ออกดอกเป็นผลระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. ขยายพันธุ์จากเมล็ด และปักชำ ประโยชน์ ปลูกประดับแบบของแปลกหายาก ด้านสมุนไพร สรรพคุณมากมายเช่น เถา แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กษัย แก้ปวดหลัง ใบแก้เมื่อยขบ เมล็ดขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เอ็นพิการ แก้จุกเสียด ขับลม แก้แน่นอืดเฟ้อ

พบกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เช่น asparagines, serine, argentine รวมทั้ง GABA มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คลายกล้ามเนื้อเรียบ

เถา  -  ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ

ใบ - ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน  สมุนไพรใกล้ตัว

 

แบ่งปันประสบการณ์ เถาเอ็นอ่อน

 ผมมีประสบการณ์ตรง ในการใช้เถาเอ็นอ่อนเพื่อบำบัดรักษาโรคด้วยตนเองครับ ผมเคยเป็นโรคอัมพฤก แขนขา ขยับไม่ได้ ระบบขับถ่ายไม่ทำงาน นอนป้อนข้าวป้อนน้ำอยู่เป็นเวลา 8 เดือน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์วินิจฉัยโรคว่า พยาธิตัวจิ๊ดเข้าทำลายเส้นประสาทไขสันหลัง จึงให้ออกจากโรคพยาบาลไปรักษาตัวที่บ้าน ขณะที่ออกจากโรงพยาบาลนั้นอาการก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย ซ้ำร้ายยังเกิดเป็นแผลกดทับที่ก้นกบและหัวไหล่  พี่เขยได้ใช้ ต้นเถาเอ็นอ่อน มาทำการสับให้ละเอียด(มีพืชอีกสองสามชนิดปนกันซึ่งผมจะไม่ได้ว่า มีค้นอะไรบ้าง)ทั้งต้มอาบ และอบ(เหมือนอบไอน้ำสมุนไพร) ปรากฏว่าใช้เวลาเพียง เดือนเดียว แขนขา ระบบขับถ่ายต่างๆทำงานได้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อจากนั้นอีก 3 เดือนก็เดินได้เป็นปกติ ซึงในระหว่างนั้น ผมไม่ได้ใช้ยาอื่นหรือเข้ารักษากายภาพบำบัดแต่อย่างใด

 นี่คือเรื่องจริงครับ

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=625a96793ac76004

 


เอกสารที่แนบ