Logo
บริษัท ไพรมัส จำกัด
Primus Company Limited

ทำไมจึงต้องแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า

28/12/2553 08:49:55 1,516

การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภครับผิดชอบในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ ของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้านั้น กฟน. ได้ตระหนักถึงความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า คุณภาพและการบริการ การประหยัดพลังงาน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อการประหยัดพลังงานของประเทศ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆล้วนต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งมาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆโดยผ่านการแปลงแรงดันจากหม้อแปลงไฟฟ้าหลายครั้งกว่าจะมาถึงผูใช้ไฟฟ้า แต่ละรายได้ประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจ่ายไฟฟ้าจึงมีความสำคัญ

เพาเวอร์แฟกเตอร(POWER FACTOR :PF)หรือตัวประกอบกำลังไฟ้า เป็นตัวประกอบสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจำหน่ายไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำ มีผลทำให้ระบบการจ่ายไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำไปด้วย การไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ จำหน่ายไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรับปริมาณพลังงานไฟฟ้า ส่วนที่ไม่จำเป็นหรือเรียกกันว่า พลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ ซึ่งไม่มีผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงคุณภาพการจ่ายไฟฟ้าให้มีแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงด้วย ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดั้งนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าปรับปรุง POWER FACTOR ของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้สูงขึ้นผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะได้รับผลประโยชน์ที่ให้ขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ในที่สุด

 ถึงแม้ว่าได้มีการใช้ค่าปรับ POWER FACTOR เพื่อชักจูงผู้ใช้ไฟฟ้าให้ทำการปรับปรุง POWER FACTOR เพื่อการประหยัดพลังงานมาช้านานแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนน้อยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุง POWER FACTOR ดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาล การไฟฟ้านครหลวงจึงได้จัดทำ “โครงการศึกษาปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (POWER FACTOR) ของผู้ใช้ไฟฟ้า” และเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงิน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยจำดำเนินการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีค่าต่ำกว่า 0.85 Lagging ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 11065ราย และมีค่า POWER FACTOR มากกว่า 0.85 Lagging โดยการติดตั้ง Capacitor จำนวนทั้งสิ้น 461.75 MVAR ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

 การดำเนินงานในโครงการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ของผู้ใช้ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้น 0.85 Lagging ซึ่งจะเป็นการลดกำลังไฟฟ้าที่ถูกสูญเสียไป และเพิ่มความสามารถในการรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทั้งของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้จำหน่ายไฟฟ้าระบบส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอันเป็นการประหยัดการใช้พลังงานของผู้ใช้ไฟฟ้าและประเทศชาติโดยรวมผลการดำเนินงานในโครงการนี้ จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานทางด้านไฟฟ้าเป็นไปอย่างถูกวิธีและเป็นรูปธรรม

 โดยการไฟฟ้านครหลวงจะดำเนินการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ต่ำกว่า 0.85 Laggingจำนวนทั้งสิ้น 11065 ราย โดย กฟน. จะให้ความรู้คำแนะนำของประโยชน์ในการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าพร้อมกับเชิญบริษัทเอกชนที่มีคุณสมบัติตามข้อที่กำหนดไว้ และประสงค์ที่จะรับจ้าง กฟน. เพื่อดำเนินการสำรวจ ออกแบบและติดตั้งตัวเก็บประจุไฟฟ้าจำนวนประมาณ 461.75 MVAR โดยการประกวดราคาหรือการดำเนินการดังกล่าวพร้อมรับประกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ที่ทำการติดตั้งไว้เป็นเวลา2 ปี ภายใต้การกำกับดูแลของ กฟน. พร้อมกับบริษัทฯดังกล่าวจะต้องตรวจสอบค่า POWER FACTOR ของผู้เข้าร่วมใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการแต่ล่ะปี และรับประกันความเสียหายของอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาที่รับประกันไว้เพื่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ได้สภาพที่ใช้งานได้ปกติโดย กฟน. จะขอรับการสนับสนุนด้านการเงินของโครงการฯกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและให้ผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมสมทบทุนติดตั้ง Capacitor และอุปกรณ์ประกอบอีกส่วนหนึ่ง พร้อมกันนี้ กฟน.จะได้จัดทำแผนเพื่อการลงทุนปรับปรุงค่า PF. ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ให้มีค่า POWER FACTOR เท่ากับหรือมากกว่า0.875 ด้วย

 ผลที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆในระบบไฟฟ้าได้ หรือ มีความสามารถในการปรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้นเท่ากับ 287.72 Mwคิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัดการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าได้ คิดเป็นจำนวนเงิน641.103ล้านบาทต่อปี

ลดพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ซึ่งทำให้ประเทศชาติสามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้เท่ากับ97.81 GWhต่อปีคิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัดพลังงานได้เท่ากับ141.306ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ประเทศสามารถปยัดได้รวมเท่ากับ782.094ล้านบาทต่อปี

ในขณะเดียวกันผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้ปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าได้สูงขึ้นแล้วสามารถเพิ่มความสามารถของสายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าในการรับLoad ได้เพิ่มขึ้น370.33 MW คิดเป็นเงินของผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ72.635ล้านบาทต่อปี ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 651.86 Gwhต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 689.799ล้านบาทต่อปี และนอกจากนี้ยังสามารถประหยัดค่าไฟฟ้ารีแอคทีฟได้อีก คิดเป็นเงิน96.340ล้านบาทต่อปี และประหยัดค่าไฟฟ้าอันเนื่องมาจาก Copper LossและCable Lossคิดเป็นเงิน66.13ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดในการใช้พลังงานได้รวมถึงล้านบาทต่อปี รวมเงินที่สามารถอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดได้ประมาณ1707.331ล้านบาทต่อปี

เอกสารที่แนบ