Logo
บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด
Thai - China Flavours and Fragrances Industry Co., Ltd.

การกำเนิดน้ำมันหอมระเหยกับศาสตร์แห่งการบำบัด

15/06/2560 00:00:00 1,599


การกำเนิดน้ำมันหอมระเหยกับศาสตร์แห่งการบำบัด

แม้ว่ายังไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัดถึงประเทศหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้อย่างชัดเจน แต่พบว่าช่วงประมาณ  500-1500 ปี ก่อนคริสตศักราชพบชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่ได้นำเครื่องหอมจำพวกแฟรงคินเซนส์ (frankincense) และ เมอร์ (myrrh) มาใช้ประโยชน์ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้า นอกจากนี้ยังพบการนำพืชที่ให้กลิ่นหอมอธิเช่น อบเชย (cinnamon) ซีดาร์วูด (cedarwood) จูนิเพอร์ (juniper) และพืชอีกหลายชนิดมาใช้ในการเก็บรักษาร่างมัมมี่ สำหรับการถ่ายทอดความรู้ศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมระเหยและเครื่องหอมนั้นเชื่อว่าชาวกรีกได้รับวิชาและศาสตร์ดังกล่าวมา หลังจากที่ทำสงครามกับอียิปต์


ในช่วงประมาณ 460 ปี ก่อนคริสตศักราช ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น ?ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์? หรือ ?บิดาแห่งการแพทย์? (The Father of Medicine) ซึ่งเป็นชาวกรีกที่มีการนำน้ำมันหอมระเหยจากส่วนต่างๆของพืชมาใช้ในการรักษาคนไข้ นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว เม็กกอลัส (Megallus) ก็เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ได้คิดสูตรที่เป็นที่นิยมมากในการลดอาการอักเสบและช่วยสมานแผลซึ่งสูตรดังกล่าวถูกขนานนามว่า ?Megaleion?  และได้ประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการแพทย์และเครื่องสำอางเรื่อยมาจนถ่ายทอดมาสู่ชาวโรมันในเวลาต่อมา นอกจากกรีกและโรมันที่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดและรักษากันมาอย่างช้านาน จีนและอินเดียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีประวัติการใช้งานมาพร้อมๆ เช่นกันซึ่งพบว่าในสมัยกรีก-โรมันใช้สูตร megaleion ประเทศจีนก็มีการใช้น้ำมันกุหลาบ มะลิ ขิง และคาโมมาย (Chamomile)


เมื่อเข้าสู่ช่วง ค.ศ. 100 การศึกษาการใช้น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรได้มีมากขึ้น และเป็นครั้งแรกในยุโรปที่มีหลักฐานการใช้น้ำมันหอมระเหย วิธีการสกัด และการค้าขายน้ำมันอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยหมอชาวอาหรับที่ชื่อว่า อวิเซนน่า (Avicenna) ได้คิดค้นพัฒนาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำโดยได้กลั่นน้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบ   เป็นครั้งแรก จากนั้น ความรู้ทางด้านน้ำมันหอมระเหยและวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหย จึงได้เผยแพร่กระจายไปทั่วยุโรปสืบมา จนกระทั้งเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มากขึ้น ความสนใจในการแยกตัวยาบริสุทธิ์จากพืชและการสังเคราะห์ยาทางเคมีมากขึ้น การใช้สุคนธบำบัดน้อยลงตามลำดับ จนกระทั้งนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ เรเน่ มอริช กัตฟอส (Ren? Maurice Gattefoss?) ได้ค้นพบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยโดยบังเอิญจากเหตุเปลวไฟลวกมือและด้วยความตกใจจึงนำมือจุ่มลงในน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์ ซึ่งเขาพบว่าแผลที่เกิดจากไฟลวกมีอาการปวดลดลง และแผลสมานได้เร็วขึ้น รวมถึงมีรอยแผลเป็นน้อยกว่าแผลไฟไหม้ที่หายเองตามปกติ ซึ่งทำให้เกิดการวิจัยและค้นคว้าอย่างจริงจังมากขึ้นและทำให้เขาทราบว่าน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาตินั้นมีฤทธิ์ที่ดีกว่าสารเคมีสังเคราะห์หรือสารที่แยกจากพืชออกมาเดี่ยวๆ ต่อมาเขาจึงได้แต่งตำราสุคนธบำบัดเล่มแรกและเป็นผู้บัญัติศัพท์คำว่า ?Aromatherapy? เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1928


นอกจากนี้ยังมีการค้นพบตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Dr. Penfold ใช้น้ำมันทีทรีในชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการรักษาทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง Dr. Jean Valnet เขียนตำราจากประสบการณ์จริงจากการใช้น้ำมันหอมเพื่อการรักษา และในช่วง ค.ศ. 1964 Madame Marguerite Maury ซึ่งเป็นผู้ริเรื่มการใช้น้ำมันหอมระเหยในเครื่องสำอางและศาสตร์สุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเพื่อบำบัดคืนความอ่อนเยาว์



อ้างอิง

1.       Lawless J. The illustrated encyclopedia of essential oils. 1st ed. Great Britain: Butler&Tanner Ltd. Publishing; 1995.

2.        Lis-Balchin M. Aromatherapy science: A guide for healthcare professionals. 1st ed. Great Britain: Gray Publishing; 2006.

3.       Tisserand R., Young R., Essential oil safety. 2nd ed. United Kingdom: Churchill Livingstone; 2014.




เอกสารที่แนบ