Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

โรคใบไหม้มะเขือเทศ (Late blight)

22/11/2561 16:00:32 1,508

     โรคใบไหม้มะเขือเทศ (Late blight) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา: Phytophthora infestans อาการของโรค อาการของโรคใบไหม้มะเขือเทศ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโตและทุกส่วนของพืช อาการเริ่มแรกมักเกิดขึ้นที่ใบก่อน โดยแผลจะมีลักษณะค่อนข้างกลม สีน้ำตาลดำ กลางแผลแห้ง รอบแผลวงสีซีดจาง หากอากาศชื้นแผลจะมีลักษณะฉ่ำน้ำ มักพบเส้นใยสีขาวหรือขาวอมเทาขึ้นอยู่ใต้ใบตรงบริเวณแผล แผลมักจะเริ่มเกิดขึ้นตรงปลายใบหรือขอบใบก่อน ขนาดก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค หากอาการรุนแรงใบจะแห้งดำทั้งใบ 

      อาการระยะต่อมาจะพบแผลบนลำต้น กิ่งก้าน จะเกิดแผลเน่าแห้งสีน้ำตาลเข้มหรือดำ แผลมีลักษณะยาวทอดไปตามแนวของลำต้นและกิ่งก้าน หากรุนแรงจะทำให้ลำต้นและกิ่งนั้นหักพับลงแห้งตาย ในระยะติดผล เชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทำลายผลมะเขือเทศด้วย เชื้อสาเหตุมักเข้าทำลายระยะผลอ่อนหรือผลยังเขียวอยู่ ส่วนมากแผลจะเกิดขึ้นตรงบริเวณขั้วผลก่อน แผลมีลักษณะเป็นจุดช้ำ ฉ่ำน้ำ สีเขียวปนเทา หรือสีน้ำตาลอมเทา ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น

      การป้องกันกำจัดโรค หากสภาพอากาศมีความชื้นสูงหรือฝนชุก ควรหมั่นฉีดพ่น อาร์นิลีน (กลุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืช: 27+M03) อัตรา 25 – 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 – 10 วัน หากพบอาการของโรค ควรฉีดพ่น อาร์นิลีน cymoxanil 8% +mancozeb 64% WP (กลุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืช: 27+M03) อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ แอ็กท็อป35 metalaxyl 35% DS (กลุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืช: 4) อัตรา 25 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 – 3 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 5 – 7 วัน

เอกสารที่แนบ