Logo
บริษัท เฟลเวอร์ แอนด์ อะโรเมติก กรุ๊ป จำกัด
FLAVOR & AROMATIC GROUP CO.,LTD.

ดูแลสุขภาพ 4 ช่วงวัย ให้ห่างไกลโรค

09/01/2564 15:53:24 1,532


ดูแลสุขภาพ 4 ช่วงวัย ให้ห่างไกลโรค

สุขภาพในแต่ละช่วงนั้นต้องการการดูแล ที่แตกต่างกัน เราควรศึกษาข้อมูลการดูแลสุขภาพเบื้องต้นไว้เพื่อที่จะได้อยูกับร่างกายนี้อย่างมีความสุข


การดูแลสุขภาพ ย่อมดีกว่าการมาหาหมอเพื่อรับการรักษา แต่จะดูแลอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีในทุกช่วงวัย อาจารย์ นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การดูแลสุขภาพให้ครอบคลุมทุกช่วงอายุ จะเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยเด็กเล็ก เน้นในเรื่องพัฒนาการและการเรียนรู้ วัยรุ่น เน้นทางด้านจิตใจและสังคม วัยทำงาน เน้นการดูแลพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนผู้สูงอายุ เน้นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทั้ง 4ช่วงวัยมีสุขภาพดี ดังนี้

         ช่วงวัยที่ 1อายุ 0-6 ปี จะเริ่มจากหญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ และตรวจสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับการดูแล และคลอดอย่างปลอดภัยโดยแพทย์ หลังคลอดจนถึงอายุ 6 ปี ต้องได้รับวัคซีนพื้นฐานครบถ้วน และได้รับการตรวจทางด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ และพฤติกรรมต่างๆ

          ช่วงวัยที่ 2วัย 7-18 ปี สิ่งสำคัญคือ การเตรียมตัวให้วัยนี้เป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทางด้านร่างกาย และจิตใจ มีอารมณ์ที่แจ่มใส มีภูมิคุ้มกันทางความคิดสามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

         ช่วงวัยที่ 3 อายุ 19-60 ปี เป็นวัยทำงาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวถึง 40 ปี มักมีเวลาในการดูแลสุขภาพตนเองน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยมักเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจาก บุหรี่ สุรา หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคเครียด เป็นต้น

         จึงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าสู่วัย 60 ปี เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี

         ช่วงที่ 4 อายุตั้งแต่ 60ปีขึ้นไป วัยนี้ถือเป็นวัยสูงอายุ นอกจากมีความเสื่อมถดถอย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรรับการตรวจรักษาสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้มีสุขภาพดีได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั่วไป ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายทุกวัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่เครียด

        ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารที่แนบ