Logo
บริษัท แสงเงิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (1992) จำกัด
Silverlight Enterprises(1992) Co., Ltd.
  • 516
  • 202,651

4 เทคนิคหลักในการเลือกซื้อหลอดไฟ LED

14/01/2565 14:29:03 1,453

หลอดไฟ LED คืออะไร?

       LED หรือ Light Emitting Diode เป็นเทคโนโลยีของการส่องสว่างแบบใหม่ที่ทนทาน ให้ความสว่างสูง กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำ ซึ่งระดับความสว่างก็ต่างกันตาม Chip LED โดยสามารถดูค่าความสว่างหรือปริมาณแสง (ลูเมน : lm ) ที่จะบ่งบอกค่าความสว่าง เช่น หลอดไส้ขนาด 100 วัตต์ ให้แสงสว่าง 400 ลูเมน เมื่อเทียบกับ LED จะกินไฟเพียง 5 วัตต์เท่านั้น

 

หลอดไฟ LED ควรใช้กี่วัตต์?

       การเลือกกำลังวัตต์ของหลอดไฟ LED  ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่ายิ่งวัตต์มาก แสงที่ได้ก็สว่างมาก และกินไฟมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งแต่ละจุดมีความต้องการในการใช้งานแสงสว่างแตกต่างกัน การเลือกหลอดไฟและจำนวนวัตต์ให้เหมาะสมจึงต้องคำนึงถึงเรื่องของการใช้งานและความสวยงามด้วย เพื่อที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและช่วยประหยัดค่าไฟในอนาคตครับ

 

4 เทคนิคหลักในการเลือกซื้อหลอดไฟ LED

การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED นั้นมีหลายปัจจัย เพราะในปัจจุบัน ชนิดของหลอดไฟ LED มีให้เลือกซื้อมากมายหลายแบบ การเลือกซื้อและใช้หลอด LED จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งหลัก ๆ แล้วต้องพิจารณาตามแต่ละปัจจัยดังนี้

 

1. สีของแสง

ความสว่างของหลอดไฟ LED ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแสงของหลอดไฟ ซึ่งจะมี 2 แสงหลัก คือ แสงนวล Warm White จะให้แสงนวลตา อบอุ่นเหมาะกับการพักผ่อน และแสงขาว Day Light ให้แสงสว่างมาก เหมาะกับพื้นที่ใช้งาน  ที่ต้องการแสงที่สว่างเคลียร์สบายตา

  •  สีวอร์มไวท์ (Warm white) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อน โทนอบอุ่น ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ ต่ำกว่า 3,000 เคลวิน
  •  สีคูลไวท์ (Cool white) ให้แสงสีในทางสีขาว เป็นโทนสีเย็นสบายตา ค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ Warm white ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000-4,500 เคลวิน
  •  สีเดย์ไลท์ (Day light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า คล้ายแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500-6,500 เคลวิน ขึ้นไป ให้ค่าสีที่สมจริง

อ่านความรู้เพิ่มเติมในการเลือกสีของหลอดไฟได้ที่นี่ >> เลือกสีหลอดไฟอย่างไรดี?

 

2. ขั้วหลอดต่างขนาด

ขั้วหลอดไฟ LED มีหลากหลายรูปแบบดังนี้

  • ขั้วเกลียว


ขั้ว E27 : เป็นขั้วหลอดไฟ ที่พบเห็นกันได้มากที่สุดโดยทรงที่นิยม คือ ทรงน้ำเต้า หรือ LED BULB นั้นเองขั้ว ขั้ว E40 :  นิยมใช้กับหลอดที่มีกำลังวัตต์สูงๆ เพื่อรองรับขนาดของหลอดที่ใหญ่ขึ้น โดยทั่วไปจะใช้กับหลอด “High Watt” ที่มีกำลังวัตต์มากกว่า 40w ขึ้นไป ซึ่งเราจะพบเห็นได้มากใน โคมฟลัดไลท์ หรือ โคมสปอร์ตไลท์ 

  • ขั้วเกลียวเล็ก

ขั้ว E12 :  โดยมากเป็นหลอดเฉพาะรุ่นเท่านั้น 
ขั้ว E14 :  นิยมใช้กับหลอดรูปทรงจำปา หรือ ทรงกระบอกเล็ก 
  • ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ
                                                                                                      
ขั้ว MR16 หรือ GU5.3 : เป็นขั้วที่ใช้กันมากในหลอดประเภทฮาโลเจนหลอดที่ใช้ขั้วนี้มีตั้งแต่เล็กๆส่องตู้โชว์ ยันใหญ่ขนาดไฟดาวไลท์ในห้องทั่วไปซึ่งหลอด LED เองก็ผลิตขั้วนี้ขึ้นมาเพื่อเอามาแทนที่ฮาโลเจนเช่นกันแต่ขั้วนี้ ส่วนใหญ่ต้องใช้ตัวแปลงไฟจาก 220v > 12V อีกที


3. รูปทรงหลอดไฟ LED

หลอดไฟ LED มีขนาดแตกต่างกัน และมีรูปทรงที่หลายหลายตามรูป

หลอดจำปา ให้แสงคล้ายแสงเทียน เหมาะสำหรับโคมไฟประดับที่ต้องการเพียงแสงสลัวๆ
หลอดทรงกลม ให้แสงสว่างองศากว้าง เหมาะใช้โคมไฟและโป๊ะโคมที่สร้างลวดลายเวลาเปิดไฟ
หลอดทรงยาว ให้แสงคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน เหมาะสำหรับให้แสงสว่างทั่วไป

4. มุมกระจายของแสง

        การให้แสงของหลอด LED จะเป็นแบบแสงพุ่งตรงเหมือนแสงจากไฟฉาย ดังนั้นในการเลือกหลอด LED จึงต้องดูเรื่องการกระจายแสง จากรีเฟลกเตอร์ของหลอดไฟแต่ละรุ่นประกอบด้วย 

หลอดขาวขุ่นหรือหลอดใส เราจะสังเกตได้ว่า หลอดไฟมีทั้งแบบหลอดใสและแบบขาวขุ่น ซึ่งผิวเคลือบของหลอดที่ต่างกันก็จะให้แสงที่ต่างกัน หลอดใส เหมาะใช้กับโคมไฟที่ออกแบบตัวโคมให้สร้างลวดลาย ก็จะต้องการการกระจายแสงที่มาก ส่วนหลอดขาวขุ่นจะให้แสงที่สม่ำเสมอเหมาะใช้กับพื้นที่ให้แสงแบบไม่ต้องมีตัวโคม

สวิตช์หรี่ไฟ dimmable การเลือกใช้หลอด LED สำหรับแต่ละที่ต้องดูด้วยว่าต้องการให้หรี่ไฟได้หรือไม่ หลอด LED บางรุ่นหรี่ไฟได้ บางรุ่นหรี่ไฟไม่ได้ สังเกตได้จากสัญลักษณ์ภาพ Dimmable / Not Dimmable

สิ่งสำคัญอีกข้อหนึ่งใน การเลือกซื้อหลอดไฟ LED ที่อยากเน้นย้ำ คือ ควรเลือกหลอด LED ที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมาย มอก. และฉลากเบอร์ 5 เพื่อมั่นใจว่า อายุการใช้งานหลอด LED นั้นยาวนาน ประหยัดไฟฟ้า และปลอดภัยเมื่อใช้งาน

    ดูรายละเอียดโคมไฟสำหรับหลอด LED >> โคมไฟ Silverlight

เอกสารที่แนบ