Logo
บริษัท แสงเงิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (1992) จำกัด
Silverlight Enterprises(1992) Co., Ltd.
  • 516
  • 202,655

วิธีการต่อวงจร หลอดไฟ LED กับ โคมไฟโรงงาน

03/02/2565 11:40:58 1,601

 

วิธีการต่อวงจร หลอดไฟ LED กับ โคมไฟโรงงาน 


          ในปัจจุบันหลอดไฟ LED เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติของหลอดไฟที่โดดเด่นคือ ทนทาน กินไฟน้อย ตัวหลอดไฟมีความร้อนน้อยมาก แตกต่างกับหลอดไฟประเภทอื่นๆ ทำให้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆในบ้านเรา เริ่มเปลี่ยนมาใช้หลอด LED มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะของหลอดไฟได้ 2 ลักษณะคือ

          1. ไฟเข้าด้านเดียว/ไฟเข้าด้านใดด้านนึงของหลอด หลอดแบบนี้ไฟจะเข้า L และ N  จะอยู่ที่ขั้วด้าใดด้านหนึ่งของหลอด ส่วนขั้วอีกด้านหนึ่งภายในจะต่อถึงกันอาจใช้เป็นลวดตัวนำหรือฟิวส์ตัวเล็ก ๆ เช่น หลอดไฟ PHILIPS รุ่น EcoFit LEDtube เป็น้น

ตัวอย่างหลอดไฟ -ไฟเข้าข้างเดียว


          2. ไฟเข้าสองทางด้านของหลอด หลอดแบบนี้ด้านไฟเข้า L  และ N จะอยู่ที่ขั้วคนละด้านของหลอด โดยในแต่ละด้านนั้นขั้วด้านในจะต่อถึงกัน เช่น หลอดไฟ EVE รุ่น LED T8 ECO เป็นต้น

ตัวอย่างหลอดไฟ -ไฟเข้าสองทางด้านของหลอด


          หลอดไฟ LED ที่จำหน่ายแยกเฉพาะหลอดแบบนี้เหมาะสำหรับการเปลี่ยนหลอดไฟให้กับอาคารที่มีชุดรางหลอดไฟอยู่แล้ว ไม่ว่าโคมไฟโรงงานเดิม จะเป็นของหลอดไฟ LED หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ก็ตาม แต่การเปลี่ยนหลอด LED เข้ากับ โคมไฟโรงงาน เดิมอาจจะยุ่งยากกว่าการติดตั้งแบบเป็นชุดเลย เพราะแต่ละยี่ห้อนั้นทำชุดหลอดออกมาไม่เหมือนกัน วันนี้เราจึงมาแนะนำวิธีการต่อวงจรหลอดไฟ LED กับ โคมโรงงาน จากเดิมที่เคยใช้เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งสามารนำไปใช้ได้ในการต่อวงจรของหลอดไฟ  LED ได้เช่นกัน


วิธีการต่อวงจร หลอดไฟ LED เข้ากับชุด โคมไฟโรงงาน เดิมที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ 

      ในการเปลี่ยนหลอดไฟจากเดิมที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ มาใช้หลอดไฟ LED เพื่อประหยัดไฟฟ้านั้น ต้องเปลี่ยนตามลักษณะของหลอดนั้นคือ หลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว และ หลอดไฟที่ไฟเข้าสองด้าน เพื่อป้องการการลัดวงจรของไฟฟ้า 

          1. สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว

     1.1 วิธีการต่อแบบที่ 1

รูปวิธีการต่อแบบที่ 1 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว


         เป็นการต่อหลอดหรือการเปลี่ยนหลอดทดแทนของเดิมที่ทำได้ง่ายที่สุด โดยเป็นการเปลี่ยนหลอด LED ทดแทนหลอดเดิมที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้บัลลาสต์แบบขดลวด การเปลี่ยนหลอดมีขั้นตอนดังนี้

          1.ถอดหลอดที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอด LED เดิมออก แล้วใส่หลอด LED ใหม่

          2.ถอดสตาร์ทเตอร์เดิมออก แล้วใส่แทนด้วยตัว Jumper ที่แถมมากับหลอด โดยตัว Jumper นี้รูปร่างหน้าตาภายนอกแล้วจะคล้าย ๆกับสตาร์ทเตอร์ มักเรียกชื่อแตกต่างกันบางยี่ห้อเรียกว่า Protector โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ต่อวงจรให้ถึงกันโดยฟิวส์ที่อยู่ข้างใน

           การเปลี่ยนหลอดไฟแบบนี้ทำได้ง่ายเนื่องจากไม่ต้องแก้ไขวงจรใหม่ และไม่ได้ถอดบัสลาต์ออก เพียงแค่เปลี่ยนหลอดและเปลี่ยน Jumber ก็เสร็จแล้วจึงเหมาะกับผู้ที่ไม่มีความรู้ทางไฟฟ้ามากนัก แต่การต่อแบบนี้มีข้อเสียคือ บัลลาสต์ที่ต่ออยู่จะสูญเสียกำลังไฟฟ้าประมาณ 1วัตต์ตลอดเวลาที่เปิดหลอดไฟ นั้นก็คือจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากบัลลาสต์นั่นเอง

การต่อวิธีนี้มีข้อดีคือ

     1.ง่าย สามารถเปลี่ยนหลอดโดยผู้ที่ไม่ค่อยมีความชำนาญทางไฟฟ้าได้

     2.สามารถสลับหลอดกลับหัวท้ายได้

     3.หากนำหลอดแบบที่ไฟเข้าสองด้านมาใส่โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเปิดการลัดวงจรขั้นที่ Jumber แต่ภายใน jumber มีฟิวส์อยู่จึงถูกตัดวงจีออกโดยฟิวส์ จึงปลอดภัยต่อการเปลี่ยนหลอดผิดแบบโดยไม่ตั้งใจ (Jumber เป็นตัวป้องกันบางยี่ห้อจึงเรียกว่า Protector นั่นเอง)

     4.สามารถเปลี่ยนเป็นหลอดไฟที่ไฟเข้าสองทาง ได้ง่ายๆ ไม่ต้องแก้ไขวงจร โดยแค่ถอดตัว Jumber ออกก็ใช้ได้แล้ว(ไม่ใช้ Jumber)

การต่อวิธีนี้มีข้อเสียคือ

     1.เกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าขึ้นที่บัลลาสต์ทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า แต่ก็ไม่มาก

     2.หากบัลลาสต์เสีย หลอดไฟจะไม่สามารถทำงานได้ วิธีแก้ไขให้ถอดบัลลาสต์ออกหรือต่อลัดวงจร

     1.2 วิธีการต่อแบบที่ 2

รูปวิธีการต่อแบบที่ 2 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว


     เป็นการต่อหรือการเปลี่ยนหลอดแทนของเดิม และมีการแก้ไขวงจรใหม่ทั้งหมดด้วยกล่าวคือ มีการตัดบัลลาสต์ และสตาร์เตอร์ออก และต่อสายไฟ L และ N เข้าโดยตรงที่ขั้วหลอดด้านใดด้านหนึ่ง ส่วยขั้วหลอดอีกด้านหนึ่งไม่ได้ต่อ การต่อแบบนี้แม่ว่าจะสามารถใช้งานได้จริงแต่ไม่แนะนำ เนื่องจากหากมีการติดตั้งหรือประกอบหลอดเข้ากับรางโดยมีการสลับหลอดกลับหัวท้ายโดยไม่ตั้งใจจะทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้น เนื่องจากที่ขั้วหลอดด้านหนึ่งมีการต่อถึงกันไว้ ทำให้อุปกรณ์ของเราเกิดเสียหายได้ รวมถึงอาจได้รับอันตรายจากการลัดวงจรด้วย การต่อแบบนี้จึงไม่แนะนำ

     1.3  วิธีการต่อแบบที่ 3

รูปวิธีการต่อแบบที่ 3 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว


     เป็นวิธีการต่อหรือการเปลี่ยนหลอดแทนของเดิมที่ดีที่สุด โดยมีการแก้ไขวงจรใหม่ทั้งหมดด้วยเช่นกัน คือตัดบัลลาสต์ออกต่อสายตรงแทน หลังจากนั้นถอดสตาร์ทเตอร์ออกและเปลี่ยนมาใส่ jumper แทน และการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดที่ไฟเข้าด้านเดียว

การต่อวิธีนี้มีข้อดีคือ

     1.ไม่สิ้นเปลื้องพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากบัลลาสต์เดิม

     2.สามารถสลับหลอดกลับหัวท้ายได้

     3.หากนำหลอดแบบที่ไฟเข้าสองด้านมาใส่โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเปิดการลัดวงจรขั้นที่ Jumber แต่ภายใน jumber มีฟิวส์อยู่จึงถูกตัดวงจรออกโดยฟิวส์ จึงปลอดภัยต่อการเปลี่ยนหลอดผิดแบบโดยไม่ตั้งใจ

     4.สามารถเปลี่ยนเป็นหลอดไฟที่ไฟเข้าสองทางได้ง่ายๆ ไม่ต้องแก้ไขวงจร โดยแค่ถอดตัว Jumber ออกก็ใช้ได้แล้ว

     1.4 วิธีการต่อแบบที่ 4

 

รูปวิธีการต่อแบบที่ 4 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว


     หากว่าไม่มีคัว Jumper หรือว่าเราทำหาย ก็สามารถต่อสายตรงแทนเพื่อให้สามารถใช้งานได้ แต่ก็ไม่ค่อยแนะนำ เนื่องจากว่าหากมีการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดไฟที่มีไฟเข้าสองทาง โดยไม่ได้แก้ไขวงจรเสียก่อนจะเกิดการลัดวงจรขึ้นได้ ทางที่ดีควรหาตัว Jumber มาต่อให้ถูกต้องตามวิธีการต่อแบบที่ 3 จะดีที่สุด

          2.สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าสองด้าน

      2.1 วิธีการต่อแบบที่ 1

รูปวิธีการต่อแบบที่ 1 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าสองด้าน


      เป็นการต่อหลอดหรือการเปลี่ยนหลอดทดแทนของเดิมที่ทำได้ง่ายที่สุด โดยเป็นการเปลี่ยนหลอด LED ทดแทนหลอดเดิมที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้บัลลาสต์แบบขดลวด และเพียงแค่ถอดสตาร์เตอร์เดิมออกก็สามารถใช้งานได้แล้ว

การต่อวิธีนี้มีข้อดีคือ

     1.ง่าย สามารถเปลี่ยนหลอดโดยผู้ที่ไม่ค่อยมีความชำนาญทางไฟฟ้าได้

     2.สามารถสลับหลอดกลับหัวท้ายได้

     3.หากนำหลอดแบบที่ไฟเข้าด้านเดียวมาใส่โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเกิดการลัดวงจรขึ้น เพียงแต่หลอดไฟจะไม่ทำงานแค่นั้นเอง  จึงปลอดภัยต่อการเปลี่ยนหลอดผิดแบบโดยไม่ตั้งใจ

     4.สามารถเปลี่ยนเป็นหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียว ได้ง่ายๆ โดยใส่ตัว Jumper ที่แถมมากับหลอดเข้าที่ช่องสตาร์ทเตอร์

การต่อวิธีนี้มีข้อเสียคือ

     1.เกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าขึ้นที่บัลลาสต์ทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า แต่ก็ไม่มาก

     2.หากบัลลาสต์เสีย หลอดไฟจะไม่สามารถทำงานได้ วิธีแก้ไขให้ถอดบัลลาสต์ออกหรือต่อลัดวงจร

      2.2 วิธีการต่อแบบที่ 2

รูปวิธีการต่อแบบที่ 2 - สำหรับหลอดไฟที่ไฟเข้าสองด้าน

 

     เป็นวิธีการต่อหรือการเปลี่ยนหลอดแทนของเดิมที่ดีที่สุด โดยมีการแก้ไขวงจรใหม่ทั้งหมดด้วยเช่นกัน คือตัดบัลลาสต์ออกต่อสายตรงแทน หลังจากนั้นถอดสตาร์ทเตอร์ออกและการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดที่ไฟเข้าสองด้านก็ใช้ได้แล้ว

การต่อวิธีนี้มีข้อดีคือ

     1.ไม่สิ้นเปลื้องพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากบัลลาสต์เดิม

     2.สามารถสลับหลอดกลับหัวท้ายได้

     3.หากนำหลอดแบบที่ไฟเข้าด้านเดียวมาใส่โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเกิดการลัดวงจรขึ้นที่ Jumber แต่ภายใน jumber มีฟิวส์อยู่จึงถูกตัดวงจีออกโดยฟิวส์ จึงปลอดภัยต่อการเปลี่ยนหลอดผิดแบบโดยไม่ตั้งใจ

     4.สามารถเปลี่ยนเป็นหลอดไฟที่ไฟเข้าด้านเดียวได้ง่ายๆ ไม่ต้องแก้ไขวงจร โดยแค่นำตัว Jumber ที่แถมมากับหลอดใส่ในช่อสตาร์ทเตอร์


       วิธีการต่อวงจรหลอดไฟ LED กับ โคมโรงงาน ขึ้นกับลักษณะของหลอดไฟ LED ดังนั้นก่อนทำการติดตั้งควรตรวจสอบลักษณะของหลอดไฟที่ซื้อมาเสียก่อน และศึกษาวิธีการต่อวงจรที่ชัด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ที่อาจเกิดอันตรายและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ซึ่งทางบริษัท ฯ มีบริการต่อวงจรไฟฟ้า กับ โคมโรงงาน ให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแจ้ง ยี่ห้อและรุ่นของหลอดไฟที่ต้องการจะติดตั้งเท่านั้น เพื่อความสะดวกในการติดตั้งงาน

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคาติดต่อคุณอ้อยฝ่ายขาย โทร/ไลน์  094-3864646


ขอขอบพระคุณข้อมูล: คลังความรู้ วิชาชีพไฟฟ้า

เอกสารที่แนบ