Logo
อิงฟ้าเทค
Ingfah Tech
  • 345
  • 263,064

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารละลายและเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ

12/07/2554 03:06:10 1,436

โดย จำลอง อรุณเลิศอารีย์

           ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารละลายและเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ

           การศึกษาทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย การศึกษาทรัพยากรน้ำด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ โดยเฉพาะการศึกษาด้านคุณภาพ มีการปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในดัชนี หรือพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของน้ำ ซึ่งจำเป็นต้องใช้พื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการศึกษา โดยในบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ไม่มี พื้นฐานความรู้ทางด้านเคมีวิเคราะห์ ได้เข้าใจถึงวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องแก้ว และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์น้ำ และการเตรียมสารละลายเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์น้ำได้มีความรู้และระมัดระวังการใช้เครื่องมือให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

  1. การเตรียมเครื่องแก้วและเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ
  2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมีและสารละลายเคมี
  3. การเตรียมน้ำกลั่นที่ใช้เป็นประจำและการเตรียมเป็นสารละลาย

           การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

           ในการศึกษาทรัพยากรน้ำด้านคุณภาพ จะมีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของทรัพยากรน้ำ 2 ส่วน คือ

  1. น้ำผิวดิน ประกอบด้วย
    • น้ำจืด (fresh water) ในแม่น้ำ ลำคลอง ลำห้วย สระ บ่อ เป็นต้น
    • น้ำกร่อยและน้ำเค็ม (brackish water and sea water) ในบริเวณชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน เป็นต้น
  2. น้ำใต้ดิน ประกอบด้วย
    • น้ำบาดาล (ground water) เช่น บ่อบาดาล
    • น้ำใต้ผิวดิน (subsurface water) เช่น บ่อน้ำตื้น

           ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ข้อมูลคุณภาพน้ำที่จะดำเนินการปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ในภาคสนาม อาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการทุกดัชนีคุณภาพน้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยต่างๆที่ต้องนำมาพิจารณาว่าจะดำเนินการตรวจวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพน้ำตัวใด เช่น แหล่งน้ำในพื้นที่ศึกษา ประเด็นของโจทย์ในการศึกษา (ความสำคัญของข้อมูลคุณภาพน้ำ) ความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับภาคสนาม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยควรจะตรวจวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพน้ำหลัก เช่น อุณหภูมิ ความขุ่น ความนำไฟฟ้า ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ แอมโมเนีย ไนเตรท แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ และปริมาณ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย เพื่อจะได้นำข้อมูลคุณภาพน้ำเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำได้

           การดำเนินการศึกษาและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ มีรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลคุณภาพน้ำที่สำคัญ แสดงไว้ในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ดังนี้

ตารางที่ 1 ดัชนีคุณภาพน้ำที่ใช้ในการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดิน

ด้านกายภาพ
ด้านเคมี
ด้านชีวภาพ
1. อุณหภูมิ (Temperature)
1. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
1. แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton)
2. สี (Color)
2. ค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity)
2. แพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton)
3. ความขุ่นของน้ำ (Turbidity)
3. ความเค็ม (Salinity)
3. สัตว์หน้าดิน (Benthos)
4. ความโปร่งแสงของน้ำ (Transparency)
4. ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO)
4. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Coliform bacteria)
5. ของแข็งทั้งหมด (Total Solids)
5. ค่าความสกปรกของน้ำ(Biochemical oxygen demand, BOD)
5. ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Fecal coliform bacteria)
6. ของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solid)
6. ความเป็นด่างของน้ำ (Alkalinity)
6. คลอโรฟิลล์ เอ (Chlorophyll a)
7. ของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solids)
7. ความกระด้าง (Hardness);
 
 
8. ไนเตรท (Nitrate, NO3-)
 
 
9. ไนไตรท์ (Nitrite, NO2-)
 
 
10. แอมโมเนีย (Ammonia, NH3)
 
 
11. ฟอสเฟส (Phosphate, PO43-)
 
 
12. เหล็ก (Iron)
 
 
13. แมงกานีส (Manganese)
 

ตารางที่ 2 ดัชนีคุณภาพน้ำที่ใช้ในการศึกษาคุณภาพน้ำใต้ดิน

ด้านกายภาพ ด้านเคมี ด้านชีวภาพ
1. อุณหภูมิ (Temperature) 1. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 1. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย(Coliform bacteria)
2. สี (Color) 2. ค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) 2. ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(Fecal coliform bacteria)
3. ความขุ่นของน้ำ (Turbidity) 3. ความเค็ม (Salinity)  
4. ของแข็งทั้งหมด (Total Solids) 4. ความเป็นด่างของน้ำ (Alkalinity)  
5. ของแข็งแขวนลอย(Total Suspended Solid) 5. ความกระด้าง (Hardness)  
6. ของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solids) 6. ไนเตรท (Nitrate, NO3-)  
  7. แอมโมเนีย (Ammonia, NH3)  
  8. ฟอสเฟส (Phosphate, PO43-)  
  9 เหล็ก (Iron)  
  10. แมงกานีส (Manganese)  

ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องแก้วและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์

กระบอกตวง
=
Measuring Cylinder
บีกเกอร์
=
Beaker
ปิเปต
=
Pipette
บิวเรต
=
Burette
ขวดรูปชมพู่
=
Erlenmeyer Flask
ขวดวัดปริมาตร
=
Volumetric Flask
หลอดหยด
=
Dropper
ถุงเก็บแพลงก์ตอน
=
Plankton Net
กรวยกรอง
=
Funnel
เครื่องให้ความร้อน
=
Hot Plate
เครื่องปั่นแยกตะกอนด้วยแรงเหวี่ยง
=
Centrifuge
เครื่องอังไอน้ำ
=
Water Bath
เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง
=
Spectrophotometerr
เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ
=
Water Sampler
เครื่องเก็บตัวอย่างตะกอนดินและสัตว์หน้าดิน
=
Grab Sampler

ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับหน่วยของการวัดความเข้มข้นของสารละลาย

โมลาร์ริตี้ หรือโมลาร์
=
molarity (M)
นอร์มัลลิตี้ หรือ นอร์มัล
=
normality (N)
กรัม/ลิตร
=
g/l หรือ ppt
มิลลิกรัม/ลิตร
=
mg/l หรือ ppm
ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
=
mg/ml หรือ ppm
ไมโครกรัม/ลิตร
=
mg/l หรือ ppb

 

ดาวน์โหลดเอกสารบรรยายและ เอกสารแบบสำรวจทรัพยากรน้ำด้านคุณภาพน้ำ

เอกสารที่แนบ