Logo
บริษัท ซีเอส รีเทล เทคโนโลยี จำกัด
CS Retail Technology Co.,Ltd.
  • 78
  • 898,654

ระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์ เป็นระบบที่มีเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติของระบบ ที่รองรับหลายหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น โรงงานผลิต ผู้กระจายส

24/12/2557 11:38 5,100

REALTIME warehouse management ระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์ เป็นระบบที่มีเพิ่มประสิทธิภาพ Details

 

 

ระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์ เป็นระบบที่มีเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติของระบบ ที่รองรับหลายหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น โรงงานผลิต ผู้กระจายสินค้า และคลังสินค้ารับฝาก โดยที่ระบบได้เชื่อมต่อเทคโนโลยีชั้นสูง อุปกรณ์ไร้สาย และ เทคโนโลยีบาร์โค้ด เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานให้แก่ระบบจัดการคลังสินค้ามีประสิทธิภายยิ่งขึ้น

ทำไมจึงจำเป็นต้องใช้ระบบ ?

ไม่เสมอไปที่ทุกๆ คลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ระบบจัดการคลังสินค้า แน่นอนทุกคลังสินค้าจะต้องได้รับประโยชน์จากฟังค์ชั่นการทำงานของระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์ แต่ประโยชน์ดังกล่าวนั้นจะคุ้มค่าเพียงพอต่อต้นทุนต่างๆที่ลงทุนไปหรือไม่ระบบจัดการคลังสินค้านั้นเป็นระบบที่ใหญ่ ซับซ้อน จัดการข้อมูลมหาศาล ขั้นตอนการติดตั้งระบบซับซ้อน ต้องการทรัพยากรสูงในการทำงานและจัดการข้อมูลจำนวนมากหลังเริ่มต้นใช้งาน นั้นแหละคุณถึงจำเป็นต้องใช้ระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์

คุณค่าของระบบจัดการคลังสินค้าซันไชน์

- ลดต้นทุนการจัดการ

- เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวสินค้า

- ลดพื้นที่ต้องการจัดเก็บสินค้า

- ลดทรัพยากรบุคคล

- คืนต้นทุนอย่างรวดเร็ว

- ได้ข้อมูลการทำงานแบบ เรียลไทม์ ทันทีที่เกิดการทำงานขึ้นผ่านระบบไร้สาย

- ถูกต้องแม่นยำ สำหรับการวาง และ หยิบสินค้า ตามรายการสั่ง

- เพิ่มความเร็วในการทำงานให้ครบตามใบสั่ง

- จัดเก็บสินค้าง่ายและรวดเร็ว

- ขจัดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

- จัดเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางเดียวกันและข้อมูลอัพเดทตลอดเวลาและแม่นยำ

- การติดตั้งยืดหยุ่น

- กระบวนการทำงานสามารถทำให้เหมาะแก่ลักษณะธุรกิจนั้นๆ

- สามารรองรับการปรับเปลี่ยนความต้องการในอนาคต

 

คุณสมบัติทั่วไป

ดูแลกิจกรรมการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่การรับ การตรวจคุณภาพและการนับ การติดบาร์โค๊ดและจัดเก็บ การค้นหาและหยิบสินค้า การจัดส่งสินค้า รวมถึงการคำนวณสินค้าคงคลัง ระดับสินค้าปลอดภัย จุดสั่งซื้อ การเบิกสินค้าเพื่อผลิต/ประกอบ/ทำลาย/ยืมคืน/ขนย้าย การจัดโซนและการจำแนกสินค้าตามปริมาณการเข้าออก การพยากรณ์ที่จัดเก็บสินค้า กำหนดนโยบายการรับ/เบิกสินค้าและนโยบายการจัดเก็บสินค้าได้ เชื่อมต่อกับระบบ handheld ทำธุรกรรมได้ทันทีโดยไม่ต้องประจำที่โต๊ะทำงาน

 

คุณสมบัติทั่วไป

- คลังสินค้าสำหรับหลายองค์กร

- บริหารในระดับสาขาได้หลายสาขา

- รองรับหลายคลังสินค้า

- รองรับหลายสกุลเงิน

- รองรับระบบหลายภาษา(หลัก ไทย/English)

- แบ่งกลุ่มสินค้าได้ไม่จำกัดลำดับชั้น

- ระบบบริหารสิทธิ์ผู้ใช้ระบบ

- รองรับระบบคลังสินค้ารับฝาก

- รองรับระบบเปรียบเทียบหน่อยนับ

 

 

 

การรับสินค้า

กระบวนการรับสินค้าจากใบสั่งสินค้าขาเข้า ต่างๆ เป็นส่วนทำงานเพื่อแสดงถึงจำนวนสินค้าที่จะจัดเก็บ และการเตรียมสินค้าให้พร้อมก่อนการจัดเก็บ

 

 

การตรวจรับสินค้าจากใบสั่งสินค้า

 

ขั้นตอนการตรวจนับจำนวนสินค้า ที่ได้รับจากการส่งสินค้าตามใบสั่งสินค้า โดยสามารถรับสินค้าไม่ครบจำนวนที่สั่งได้ แต่ไม่อนุญาติให้รับสินค้าเกินจำนวนที่สั่ง โดยขั้นตอนนี้เป็นการรับสินค้าจากการนับสินค้า ด้วยผู้ใช้ระบบเองสามารถรับสินค้า

 

การตรวจรับสินค้าจากรหัสแท่ง

การตรวจนับสินค้าจากรหัสแท่ง ที่ได้สร้างล่วงหน้าก่อนสินค้าจะมาถึงคลังและได้ติดที่สินค้าแล้ว โดยการใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง ในการช่วยตรวจนับสินค้า

การสร้างรหัสแท่ง

รหัสแท่งที่สร้างจากระบบนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้การทำงานสะดวก ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น โดยการอ่านรหัสแท่ง เพียงครั้งเดียว ที่รหัสแท่งตัวเดียว สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นหลายอย่างพร้อมกัน ได้แก่ รหัสสินค้ารหัสบรรจุภัณฑ์รหัสล๊อตปริมาณสินค้าที่บรรจุวันที่สร้างรหัสแท่งสถานะการตรวจสอบคุณภาพเกรดสินค้ารหัสใบสั่งสินค้า โดยระบบสามารถสร้างรหัสแท่งในเวลาที่ต่างกันได้ดังนี้

 

- ก่อนการรับสินค้า เป็นการสร้างรหัสแท่งจากระบบ โดยเป็นการนำรายการสินค้าจากใบสั่งสินค้า มาสร้างรหัสแท่งตามจำนวนที่สั่ง เพื่อเป็นการทำล่วงหน้าก่อนที่สินค้าจะมายังคลังสินค้าจริง ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลาในการติดสติ๊กเกอร์รหัสแท่ง เมื่อสินค้ามาถึงคลังสินค้า

 

- หลังการรับสินค้า จากขั้นตอนการนับสินค้าด้วยผู้ใช้ระบบเอง จะนำยอดสินค้านั้นมาสร้างรหัสแท่งตามจำนวนที่รับจริงเท่านั้น เพื่อจะได้จำนวนสติ๊กเกอร์รหัสแท่งตามจำนวนจริง

 

การจัดวางบนพาเลท

ขั้นตอนการวางแผนการจัดวางสินค้าที่ติดรหัสแท่งแล้ว ลงบนแท่นพาเลท เพื่อที่จะสามารถทราบได้ว่า พาเลทนั้นๆ บรรจุสินค้าอะไรไว้บ้าง และเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า

 
การหยิบสินค้า

 

ค้นหาสินค้าจากใบส่งสินค้า

หลังจากได้วางแผนการส่งสินค้าจากใบส่งสินค้าแล้ว ระบบจะนำใบส่งสินค้ามาทำการใบหยิบสินค้า โดยสินค้าแต่ละอย่างนั้นมีนโยบายการหยิบที่แตกต่างกัน ดังนี้

• First In First Out สินค้าที่เข้าแรกสุดให้หยิบก่อน ระบบจะค้นหาสินค้าที่มีรายการรับสินค้าอันดับแรกสุดให้โดยจะแสดงปริมาณ รหัสที่จัดเก็บ ให้โดยอัตโนมัติ

• Last In First Out สินค้าที่เข้าหลังสุดให้หยิบก่อน ระบบจะค้นหาสินค้าที่มีรายการรับสินค้าอันดับหลังสุดให้โดยจะแสดงปริมาณ รหัสที่จัดเก็บ ให้โดยอัตโนมัติ

• First Expired First Out สินค้าที่หมดอายุก่อนให้หยิบก่อน ระบบจะค้นหาสินค้าที่มีวันที่หมดอายุก่อนให้โดยจะแสดงปริมาณ รหัสที่จัดเก็บ ให้โดยอัตโนมัติ

• Direct Picking สินค้าที่สามารถเลือกหยิบได้โดยตรงไม่มีเงื่อนไข

โดยเงื่อนไขการค้นหาสินค้านั้น จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกได้แก่

- การหยิบสินค้าที่ ระบุเกรดของสินค้าด้วย ซึ่งเกรดของสินค้านั้น ได้มาจากผลการตรวจสอบคุณภาพ

- การหยิบสินค้าที่จำนวนเต็มบรรจุภัณฑ์เท่านั้น

 

การจองสินค้า

ใบหยิบสินค้าที่สร้างขึ้นมานั้นและค้นหาสินค้าเรียบร้อยแล้ว ระบบจะจองสินค้าที่ค้นหามาได้ โดยอัตโนมัติ

 

ควบคุมการจ่ายงานให้เจ้าหน้าที่หยิบสินค้า

ใบหยิบสินค้าสามารถระบุ เจ้าหน้าที่คลังที่รับผิดชอบในการหยิบสินค้า โดยการหยิบสินค้านั้นสามารถใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์พกพา (Handheld) ซึ่งจัดการด้วยระบบรหัสแท่งทั้งหมด

 

การหยิบสินค้า

เจ้าหน้าที่คลังที่ได้รับมอบหมาย ใบหยิบสินค้านั้น จะทำการหยิบสินค้าตามใบหยิบสินค้า ไปยังที่ตรวจทานก่อนนำสินค้าส่งออก 

เครื่องมืออื่นๆ (Tools)

ควบคุมการปรับปรุงยอดสินค้า (Stock adjustment)

เมื่อยอดของสินค้าในระบบ ไม่ตรงกับสินค้าที่มีอยู่จริง ผู้ใช้ระบบสามารถปรับยอดสินค้า ของที่จัดเก็บนั้นๆ ได้โดยเก็บประวัติการปรับยอดอย่างละเอียด ซึ่งผู้ใช้ระบบสามารถตรวจสอบยอดและปรับปรุงยอดสินค้า ผ่านคอมพิวเตอร์พกพา (Handheld) ในการทำงานกับระบบรหัสแท่งได้

 

ควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้า(Stock Movement)

• การขอเคลื่อนย้ายสินค้า

ใบขอเคลื่นย้ายสินค้านั้น สามารถสร้างได้ทั้งโดยตรงและมาจากส่วนการทำอื่น ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์การใช้พื้นที่คลังสินค้าและ การเติมสินค้าระหว่างโซนสินค้า เพื่อให้พิจารณาอนุมัติการเคลื่อนย้ายสินค้า

• การอนุมัติการเคลื่อนย้ายสินค้า

เพื่อพิจารณาการขอเคลื่อนย้ายสินค้าต่างๆ ทั้งจากโดยตรงและจากระบบอัตโนมัติ เพื่อจ่ายงานให้ทำการเคลื่อนย้ายจริง

• การเคลื่อนย้ายสินค้า

จากรายการขอเคลื่อนย้ายที่ได้รับการอนุมัติ เจ้าหน้าที่ทำการเคลื่อนย้ายจริง โดยสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Handheld) ช่วยในการทำงานกับระบบรหัสแท่งได้

การบันทึกผลตรวจคุณภาพสินค้า(Quality Control)

• ใบเบิกสินค้าตรวจสอบคุณภาพ

เป็นส่วนการจัดการสินค้าที่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบคุณภาพ โดยเมื่อสินค้าเริ่มถูกรับเข้ามา ผู้ใช้ระบบสามารถมาสร้างใบเบิกสินค้าเพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อติดตามสถานะการตรวจสอบคุณภาพและผลการตรวจสอบคุณภาพ

 

บันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพ

บันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพจากรายการใบเบิกสินค้าตรวจสอบคุณภาพ โดยเป็นการระบุจำนวนสินค้า ที่ผ่านในเกรดต่างๆ ได้

 

ควบคุมและแจ้งเตือนอายุการจัดเก็บสินค้า(Aging Alert)

สามารถกำหนดจำนวนวันที่จะให้ระบบแจ้งเตือนได้ว่าสินค้าจะหมดอายุ เพื่อสามารถนำไปทำการ ตรวจสอบคุณภาพใหม่ หรือเพื่อเตรียมการอื่นๆ ต่อไปได้

 

ควบคุมการเติมสินค้าระหว่างโซนสินค้า (Stock Replenishment)

สามารถกำหนดระดับสินค้าปลอดภัย และ จุดเติมสินค้า ให้แก่โซนสินค้าได้ โดยเมื่อสินค้านั้นคงเหลือถึงจุดเติมสินค้า ระบบจะทำใบเติมสินค้าจากโซนที่สนับสนุน ให้นำมาเติมได้

 

ควบคุมระดับสินค้าปลอดภัยและจุดสั่งซื้อสินค้า (Re-Order Point Management)

เมื่อครบรอบการนับสินค้า ระบบจะทำการคำนวนระดับสินค้าปลอดภัยและจุดสั่งซื้อสินค้า ให้กับสินค้าที่ระบุว่าต้องใช้ระบบสินค้าปลอดภัย โดยอัตโนมัติ

 

ควบคุมการเติมสินค้าระหว่างคลังสินค้า (Warehouse Replenishment)

สามารถกำหนดระดับสินค้าปลอดภัย และ จุดเติมสินค้า ให้แก่คลังสินค้าได้ โดยเมื่อสินค้านั้นคงเหลือถึงจุดเติมสินค้า ระบบจะทำใบขอสินค้าจากคลังสินค้าที่สนับสนุน ให้นำมาเติมได้ และถ้าหากคลังสินค้าอื่นไม่มีสินค้า ระบบจะทำการสั่งให้ จัดทำใบขอซื้อสินค้าที่ส่งไปยังระบบจัดซื้อได้

 

ตรวจนับสินค้าสิ้นงวด (Cycle Count)

เมื่อครบกำหนดนับสินค้าสิ้นงวด เพื่อตรวจเช็คยอดคงเหลือจริงในระบบเทียบกับยอดสินค้าที่จัดเก็บจริง เพื่อปรับปรุงยอด และส่งยอดสินค้าเข้าสู่ระบบบัญชี โดยระบบสามารถ แยกการนับออกได้เป็น 3 แบบดังนี้

 

- ตรวจนับสินค้าแบบโซนจัดเก็บ (Cycle count by zone) ตรวจนับสินค้าพร้อมกันทั้งโซนจัดเก็บ

- ตรวจนับสินค้าแบบที่จัดเก็บสินค้า (Cycle count by location)ตรวจนับสินค้าพร้อมกันที่ละที่จัดเก็บสินค้า

- ตรวจนับสินค้าแบบรายการสินค้า (cycle count by Item) ตรวจนับสินค้าพร้อมกันที่ละรายการสินค้า

 

โดยระบบจะทำการนับยอดสินค้าในระบบเทียบกับยอดสินค้าที่นับได้จริง โดยการตรวจนับยอดสินค้าจริงสามารถทำงานผ่านคอมพิวเตอร์พกพา (Handheld) ที่อ่านรหัสบาร์โค้ด เป็นการช่วยนับสินค้า แล้วระบบจะแสดงยอดสินค้าที่แตกต่างกัน เพื่อทำการปรับปรุงยอดสินค้าในระบบให้ตรงกับยอดสินค้าจริง

 
สอบถามข้อมูลคลังสินค้า

ระบบสามารถแสดงการสอบถามข้อมูลการจัดเก็บสินค้า ในเชิงลึก โดยแสดงผลเป็น กราฟ รูปแบบต่างๆได้

โดยมีส่วนสอบถามข้อมูลดังนี้

- กราฟวงกลมแสดงพื้นที่ใช้งาน (ใช้งาน / ว่าง) (Location status)

- กราฟแท่งแสดงจำนวนรายการสั่งสินค้าเปรียบเทียบเป็นรายเดือน (Monthly Order quantity)

- กราฟจุดแสดงยอดการรับสินค้าเปรียบเทียบรายเดือน (Monthly Receive)

- กราฟจุดแสดงยอดการส่งสินค้าเปรียบเทียบรายเดือน (Monthly Dispatch)

- กราฟจุดแสดงการจัดเก็บสินค้าของปริมาณพาเลทเปรียบเทียบรายเดือน (Monthly Pallet Put-away)

ฯลฯ

 

• ตรวจเช็คราคาต่อหน่วย ของใบแจ้งหนี้ เทียบกับ ใบสั่งซื้อ

สามารถเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

• รหัสใบแจ้งหนี้

• รหัสใบแจ้งหนี้ชั่วคราว

• รหัสล๊อตสินค้า

• วันหมดอายุ

• แบ่งเกรดคุณภาพสินค้าได้ ณ ตอนรับสินค้า

• ขนาดกล่องบรรจุภัณฑ์

3.4.2 การจัดเก็บสินค้า (Put – Away)

สามารถเลือกจัดเก็บสินค้าแบบทั้งพาเลท

สามารถเลือกจัดเก็บสินค้าแบบที่ละกล่องบรรจุภัณฑ์

ไม่จำเป็นต้องพิมพ์แผนการจัดเก็บ(Put Away List) ให้แก่ผู้จัดเก็บสินค้า เนื่องจากผู้ใช้สามารถดูแผน

ของตนเองได้ใน อุปกรณ์ไร้สาย

มี Policy ป้องกันข้อผิดพลาด

• ถ้าหากรหัสที่จัดเก็บ และ รหัสบาร์โค้ดสินค้าที่นำไปจัดเก็บ ไม่ตรงกับ แผนการจัดเก็บ(Put

Away List) สินค้า ระบบจะไม่ยอมให้บันทึกข้อมูล

• มีส่วน Override สำหรับผู้ใช้ระบบบางคนที่ได้รับสิทธิ์ สามารถจัดเก็บสินค้านอกเหนือจาก

แผนการจัดเก็บสินค้า

3.4.3 การหยิบสินค้า (Pick)

สามารถเลือกหยิบสินค้าแบบทั้งพาเลท

สามารถเลือกหยิบสินค้าแบบที่ละกล่องบรรจุภัณฑ์

สามารถระบุ ที่จัดวางสินค้า หลังจากได้หยิบสินค้าออกมาจากที่จัดเก็บแล้ว

ไม่จำเป็นต้องพิมพ์แผนการหยิบสินค้า(Picking List) ให้แก่ผู้หยิบสินค้า เนื่องจากผู้ใช้สามารถดูแผน

ของตนเองได้ใน อุปกรณ์ไร้สาย

สามารถทยอยหยิบสินค้า จากแผนการหยิบสินค้า แต่ละใบสั่งได้

เมื่อต้องการสิ้นสุดการหยิบ ในกรณีที่สินค้าไม่เพียงพอต่อการหยิบ สามารถจบการหยิบสินค้าได้ทันที

มี Policy ป้องกันข้อผิดพลาด

• ถ้าหากรหัสที่จัดเก็บและรหัสบาร์โค้ดที่ไปหยิบสินค้า ไม่ตรงกับ แผนการหยิบสินค้า(Picking

List) ระบบจะไม่ยอมให้บันทึกข้อมูล

• ไม่สามารถหยิบสินค้าเกินที่ แผนการหยิบสินค้า กำหนดให้หยิบ

3.4.4 การยืนยันการส่งสินค้า (Dispatch)

สามารถเลือกยืนยันการส่งสินค้าแบบพาเลท

สามารถเลือกยืนยันการส่งสินค้าแบบที่ละบรรจุภัณฑ์

สามารถทยอยยืนยันการส่งสินค้าได้

เมื่อต้องการสิ้นสุดการยืนยันการส่งสินค้า ในกรณีต้องการส่งสินค้า น้อยกว่า จำนวนสินค้าที่ได้หยิบมา

สามารถทำได้ทันที

ถ้าหากจำนวนสินค้าที่ยืนยันการส่ง น้อยกว่า จำนวนสินค้าที่ได้หยิบมา จำนวนสินค้าที่เหลือจะถูกนำ

กลับไปอยู่ในสถานะรอจัดเก็บอีกที

มี Policy ป้องกันข้อผิดพลาด

• ถ้าหากรหัสที่จัดเก็บและรหัสบาร์โค้ดที่ไปยืนยันการส่งสินค้า ไม่ตรงกับ สินค้าที่ได้หยิบมา

ระบบจะไม่ยอมให้บันทึกข้อมูล

• ไม่สามารถยืนยันการส่างสินค้าเกินที่ กับ สินค้าที่ได้หยิบมา

3.4.5 เครื่องมือ (Tool)

การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างที่จัดเก็บ

การปรับปรุงยอดสินค้า

การนับสินค้าสิ้นงวด

3.4.6 ติดตามข้อมูล (Inquiry)

ดูข้อมูลยอดสินค้าคงเหลือรายสินค้า

ดูข้อมูลยอดสินค้าคงเหลือรายที่จัดเก็บ

ดูสินค้าค้างรับ จากใบสั่งสินค้านำเข้า

ดูสินค้าค้างจ่าย จากใบสั่งสินค้านำออก

เอกสารที่แนบ