Logo
วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย)
V.M.C. SAFETY GLASS (THAILAND)

V.M.C. SAFETY GLASS (THAILAND)

วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย)

 

 

 

       คุณณัฐวัฒน์ แพรพริ้วงาม  ผู้ก่อตั้ง V.M.C. ผู้ที่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถยนต์ เริ่มตั้งแต่การคิดค้นหน้าต่างบานอลูมิเนียมมาใช้แทนหน้าต่างบานไม้ และการทำโครงสร้างเหล็กมาใช้แทนไม้ ของรถเมล์โดยสารประจำทาง รายแรกของประเทศไทย และจากแนวคิดที่จะผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์ขึ้นใช้เองภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในการผลิตกระจกจำเป็นต้องมีตราสัญลักษณ์ เพื่อเป็นทั้งเครื่องหมายการค้าและบอกถึงมาตรฐาน

 

 

    คุณณัฐวัฒน์ จึงได้กลับมานั่งนึกถึงว่า กระจกนิรภัยต้องลดความรุนแรงหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แล้วเมื่อคนเกิดการบาดเจ็บจำเป็นต้องไปหาหมอ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราน่าจะนำสัญลักษณ์ซึ่งเป็นตัวแทนของหมอ นำมาติดไว้บนกระจก จากความคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดตราสัญลักษณ์ Doctor ขึ้นในปี 16 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความปลอดภัยของผู้ใช้รถยนต์ และสัญลักษณ์นี้ก็เป็นที่รู้จักกันดี ทั้งในและต่างประเทศ จนถึงปัจจุบัน

     จากการที่ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์วิกฤตพลังงาน ในปี 2523 ส่งผลกระทบกับบริษัทและคุณวิวัฒน์โดยตรง จึงทำให้ท่านมุ่งเน้นที่จะหาแนวทางในการให้กระจก เป็นส่วนหนึ่งของการประหยัดพลังงาน โดยต้องการพัฒนากระจกประหยัดพลังงานสำหรับอาคาร อีกทั้งต้องให้ความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน และราคาถูกอีกด้วย ท่านจึงมองถึงการสร้างตึกหรืออาคารที่ดีได้นั้น จะต้องมีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง และไม่เพียงแต่ฐานรากของอาคารเท่านั้น ยังน่าจะรวมไปถึงความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดตราสัญลักษณ์ Strong มาใช้กับกระจกนิรภัยสำหรับอาคาร ที่แสดงถึงความแข็งแรงมั่นคง และได้ออกสู่ตลาดกระจกอาคาร ในปี 2527 ภายใต้คำขวัญ \"Save Energy - Safety - Save money\" เป็นที่รู้จักของผู้ออกแบบ สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ใช้งานทั่วไป

 

 

 

วี.เอ็ม.ซี. เราเป็นผู้เชี่ยวชาญงานกระจกนิรภัย และกระจกประหยัด พลังงาน เป็นที่ยอมรับในทุกอุตสาหกรรม ได้รับความไว้วางใจยาว นาน... ตลอดเวลา 40 ปี จากอดีตเพียง...ความมุ่งมั่นที่ต้องการจะ พัฒนาความสำเร็จ ที่สร้าง แรงบันดาลใจให้ วี.เอ็ม.ซี. มุ่งมั่นมาก ยิ่งขึ้นสู่ปัจจุบัน คือ .. ความสำเร็จที่ได้มา เป็นผลงานอันมากมาย วี.เอ็ม.ซี. เรายังไม่หยุดนิ่ง ที่จะก้าวขั้นต่อไปเพื่อให้ บรรลุเป้าหมาย

สาขา - บางพลี

170 หมู่ 1 ถ. เทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540

เกี่ยวกับกิจการ/ร้านค้า

ข้อมูลกิจการ/ร้านค้า
ข้อมูลกิจการ/ร้านค้า : วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย)
V.M.C. SAFETY GLASS (THAILAND)
ข้อมูลธุรกิจ
ประเภทธุรกิจ : ผู้รับเหมา บริการ ส่งออก ผู้ผลิต
ข้อมูลติดต่อ
ที่อยู่ : 140 ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
ประเทศ : ไทย
ข้อมูลอื่นๆ
เงินทุนจดทะเบียน : 1,000,000 หรือน้อยกว่า
รายได้ต่อปี : 1,000,000 or less
จำนวนพนักงาน : 101 - 300
ใบรับรองมาตราฐาน

ISO9001v2015

ISO9001v2015
ใบรับรองมาตราฐาน

ISO9001v2015

ISO9001v2015
รายละเอียดเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า

Force Convection Technolog (ระบบนำพาความร้อนแบบบังคับ )

ชื่อที่เรียกทางภาษาเทคนิคว่าระบบนำพาความร้อนแบบบังคับอาจจะต้องแบ่งเป็น2ส่วน สำหรับหลักการทำงานของเครื่องจักรชนิดนี้ เครื่องจักรในกรณีนี้เราหมายถึงเตาอบกระจกเทมเปอร์ ทั้ง 2ส่วนมีหลักการพื้นฐานที่เหมือนกันแต่ผลลัพธ์ ของทั้ง 2ส่วนสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจเฉพาะด้าน อาจจะแตกต่างกันบ้างเพราะส่วนหนึ่งของระบบ ForceConvection นั้นส่งผลโดยตรงกับคุณภาพ ของกระจกเทมเปอร์ซึ่งเราจะเรียกว่า (JetForce Convection) แต่อีกส่วนจะส่งผลทางอ้อมกับกระจก แต่จะส่งผลโดยตรงต่อระยะเวลาการใช้งานของ เครื่องจักรซึ่งจะเรียกว่า (CoolantForce Convection) :: มีรายระเอียดดังต่อไปนี้ :: Coolant Force Convection เราคงต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบนำพาความร้อนสำหรับเครื่องจักร เพราะถ้าระบบระบายความร้อนของเครื่องจักรทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อคุณภาพของกระจกอยู่ดี ถ้าจะเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพได้ช้ดเจนก็ต้องให้ท่านนึกถึงระบบคูลลิ่งเครื่องยนต์ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์โดยใช้ปั๊มน้ำ น้ำจะวนเข้าสู่ผิวรอบๆเครื่องแล้ววนน้ำออกไปสู่หม้อพักน้ำเพื่อให้เย็นแล้ววนกลับเข้าไปใหม่ทำงานอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แต่สำหรับเตาเทมเปอร์นั้นความร้อนที่ต้องถูกนำระบายออกไม่ใช่เครื่องยนต์แต่เป็นมอเตอร์ทนความร้อนสูง (ประมาณ1,000C) เพราะมอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของเตาจะต้องทำงานอย่างหนักตลอดเวลาในการอัดอากาศร้อนลงบนผิวกระจกเพื่อให้กระจกมีความเรียบอยู่เสมอตั้งแต่วินาทีแรกที่โหลดเข้าจนถึงโหลดออก :: เพราะเหตุผลนี้ :: จึงทำให้อุปกรณ์ต่างๆของระบบระบายความร้อนที่มีอุหณภูมิสูงอย่างนี้ต้องมีความคงทนและทำงานได้ดีอย่างสม้ำเสมอ เพราะถ้าไม่แล้ว กระจกก็จะเกิดรอยคลื่นที่ผิวได้ ส่งผลต่อลักษณะการมองเห็น แล้วถ้าจะนำไปผลิตลามิเนตต่อก็จะเกิดปัญหาเป็นฟองไปตามลำดับ Jet Force Convection ส่วนที่เป็นระบบนำพาความร้อนด้วยอากาศหรือ JetForce Convection (ได้อธิบายไว้ในข้างต้นบางส่วน) คือส่วนที่สัมพันกันกับมอเตอร์ทนความร้อนสูงซึ่งจะมีมอเตอร์อยู่หลายตัวติดตั้งตามตำแหน่งที่ถูกคำนวณไว้แล้ว มอเตอร์จะพัดอัดลมร้อนผ่านเข้าไปในท่อที่มีหัวฉีดเล็กๆอยุ่ปลายทางซึ่งแต่ละหัวจะเรียงห่างกันประมาณ2นิ้วจำนวนเกือบพันหัวและทั้งแผงของหัวฉีดจะห่างจากผิวกระจกประมาณ4นิ้ว หลัการ JetForce Convection จะต้องมีการคำนวนมาก่อนว่าความร้อนที่ฉีดออกมาจากหัวฉีดในอุณภูมิที่ต้องการ แล้วเมื่อลมร้อนพัดผ่านผิวกระจกแล้วย้อนกลับขึ้นมา จะต้องมีการดูดความร้อนที่กลับขึ้นมานั้นนำมาเพิ่มความร้อนใหม่ เพื่อนำไปผ่านพัดลมร้อนแล้วอัดอากาศกลับลงมาบนผิวกระจกอีกที :: แล้วเทคโนโลยีนี้ดีกว่าเทคโนโลยีเดิมอย่างไร :: เทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันคือ(HeatRadiation) ระบบให้ความร้อนจากเส้นลวดทำความร้อน(Heater) ระบบแบบนี้จะให้ความร้อนจากเส้นheaterอย่างเดียว เมื่อต้องการให้ความร้อนขึ้นสูงถึงอุณหภูมิที่ต้องการก็ต้องเพิ่มพลังงานไฟฟ้าเข้าไปให้heaterทำงานมากๆ แล้วพอความร้อนสะสมในเตามีมากเกินไปก็ทำให้กระจกอ่อนตัวมากเกินพอดี และส่งผลให้กระจกแผ่นนั้นๆเป็นคลื่นในที่สุด :: การใช้ระบบ JetForce Convection เป็นการนำเอาความร้อนสะสมในเตามาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด :: Jet Force Convection ทำให้กระจกนั้นมีผิวที่เรียบสวยงามและยังทำให้โครงสร้างในเนื้อกระจกแกร่งเท่ากัน การที่กระจกเทมเปอร์มีความเครียดของโมเลกูลทั้วทั้งแผ่น(คือแกร่งเท่ากันทั้งแผ่น)จะช่วยลดสาเหตุการลั่นแตกได้ เพราะในกระจกเทมเปอร์หนึ่งแผ่นที่มีบางตำแหน่งมีความแข็งมากเกินกว่าตำแหน่งอื่นๆจะทำให้ตำแหน่งนั้นมีความเปลาะมากจนอาจเกิดการลั้นแตกเองได้ ไม่เพียงเท่านั้น กระจก Low-E ซึ่งเป็นกระจกที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงาน แต่เป็นกระจกที่อบเทมเปอร์ได้ยากที่สุด ก็สามารถใช้เทคโนโลยี Jet Force Convection ไนการอบได้อย่างสบาย นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมระบบForceConvection ถึงดีกว่าระบบให้ความร้อนแบบเดิมๆ