Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

วิกฤตและโอกาสโลกร้อนต่อการเกษตร

22/10/2555 16:31:44 1,436

วิกฤตและโอกาสโลกร้อนต่อการเกษตร

ศาสตราจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนของโลก จึงทำให้เกิดภาวะอากาศร้อนกว่าเขตอบอุ่นและเขตหนาว บางส่วนของประเทศมีสภาวะอากาศร้อน ฝน และหนาว แต่บางส่วนของประเทศมีสภาวะอากาศเดียว คือ ร้อน หรือร้อนชื้น และอาจมีฝนตกในบางช่วง ภาวะอากาศดังกล่าวจึงไม่ได้สร้างความหวาดกลัวนัก ทั้งๆ ที่อุณหภูมิอากาศของประเทศไทยในช่วง 20 กว่าปีนี้เพิ่มขึ้นไปเกินกว่าหนึ่งองศาเซลเซียส ที่แน่ชัดอย่างยิ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงของโลกที่กระตุ้นให้เกิดความหวาดระแวงต่อคนไทยได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน รวมไปถึงสภาวะอากาศที่มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบของก๊าซที่เป็นส่วนผสมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินจากป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตร จากพื้นที่เกษตรเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากป่าเป็นชุมชน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของประเทศไทยโดยตรง และต่อส่วนรวมของโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งจะพบในรายงานภาวะโลกร้อนและ/หรือการเปลี่ยนแปลงของโลกว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเมื่อร้อยปีไม่น้อยกว่าสามองศาเซลเซียสในบางพื้นที่อนึ่งมีจุดเด่นสำคัญก็คือ การเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชนว่า มีการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือแล้วโยงใยมาถึงการหมุนเวียนของกระแสน้ำอุ่น-น้ำเย็น เท่ากับการยับยั้งการเคลื่อนย้ายของสารอินทรีย์คาร์บอนอันเป็นส่วนสำคัญของการสร้างสารอินทรียวัตถุด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำในทะเล ส่งผลให้เกิดภาวะกังวลว่า ในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนแหล่งโปรตีนจากทะเล-มหาสมุทรก็อาจเป็นได้ อีกทั้งมีปรากฏการณ์น้ำท่วม โคลนถล่ม แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเชื่อว่า โลกร้อน และทำให้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงให้เกิดลมมรสุม ไซโคลน เฮอริเคน ทุกๆ มหาสมุทรของโลก ก่อให้เกิดความหายนะหรือภัยพิบัติต่อประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล ซึ่งมักจะเกิดให้เห็นเป็นประจำ เช่น ไทย พม่า อินโดนิเชียฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นเวียตนาม เป็นต้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ด้วยอย่างไรก็ดีภัยพิบัติที่เกิดมาแล้วก่อให้เกิดความสูญเสียต่างๆ ก็จริงอยู่สำหรับประเทศไทยแม้จะต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน แต่ก็ไม่มากกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปทรง

2. ขอนที่ประเทศจากเหนือจรดใต้ยาวมากกว่าพันกิโลเมตร มีทั้งภูเขาและทะเลล้อมรอบ รวมทั้งพื้นที่ที่แล้งฝน เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้นภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สองปรากฏการณ์ กล่าวคือ ปรากฏการณ์แรกเกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases, GHG) ที่สกัดกั้นรังสีคลื่นยาว (ยาวกว่า 4 ไมครอน) ที่โลกแผ่รังสีสะท้อนออกไปภายหลังจากการได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งบรรยากาศมี GHG ปนเปื้อนอยู่ จึงดูดซับและสกัดกั้นรังสีคลื่นยาวที่โลกแผ่ออกไป จากนั้นแล้วก็สะท้อนแผ่รังสีกลับคืนมายังโลก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จึงทำให้อุณหภูมิของโลกสูงเพิ่มมากขึ้น ส่วนอีกปรากฏการณ์หนึ่ง ก็คือ การเพิ่มของก๊าซ CFCs (Chlorofluorocarbons) จากกระบวนการทำความเย็นเป็นส่วนใหญ่เข้าสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟีย (stratosphere) เกิดการทำลายก๊าซโอโซนที่มีศักยภาพในการดูดซับรังสี UV ซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้นและมีความถี่สูง

 

3. การแก้ไขการเกษตรเพื่อการต่อสู้โลกร้อนมีหลากหลายวิธี ซึ่งที่ได้มีการทดลองในต่างประเทศและได้แนะนำไว้ก็คือ ประเด็นแรก ต้องปลูกพืชเกษตรที่เหมาะสมทั้งสถานที่และสภาวะรวมทั้งต้องหาพืชพันธุ์ที่ทนร้อนจัดและหนาวจัด ประการที่สอง ต้องใช้เทคนิคด้านการไถพรวนให้คลายความร้อนได้ มิฉะนั้นภาวะร้อนเกินไปทำให้พืชตาย หรือไม่เจริญเติบโตได้ ประการที่สาม ต้องปลูกพืชให้เร็วขึ้น เพราะเวลาการเจริญเติบโตมักจะต้องยาวนานขึ้น สาเหตุมาจากการมีคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ฝนตกมากหรือน้อยกว่ามากๆ ประการที่สี่ ระมัดระวังการให้น้ำ โดยการใช้วิธีชลประทานที่จะต้องเหมาะสม พืชมักใช้น้ำมากกว่าปกติ แต่บางพื้นที่อาจตายได้ถ้าให้น้ำมากเกินไป เพราะปากใบไม่เปิด เนื่องจากมีคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาก ทำให้ปากใบปิดก็อาจเป็นได้ ประการสุดท้าย การเกิดภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่บริเวณที่ราบในระดับใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เช่น ประเทศไทยเวียตนาม เป็นต้น

ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่า สภาวะที่ทำให้เกิดโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการเพิ่ม GHG และ CFCsในบรรยากาศ และยังทำให้ก๊าซบางตัวในบรรยากาศลดลง เช่น โอโซน เป็นต้น ถ้า GHG และ CFCsตัวใดตัวหนึ่งมีผลต่อรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ช่วง UV-visible light-infrared แล้ว ไม่ต้องสงสัยว่าว่าจะมีผลกระทบทางลบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเกษตรตามมาไม่มากก็น้อย ผลที่ตามมาก็คือ ได้ผลิตผลน้อยลง อาหารที่จะผลิตป้อนคนในประเทศและประเทศอื่นๆ จะน้อยลงตามไปด้วย ผลที่ตามมาอย่างน่ากลัวก็คือ ภาวะเศรษฐกิจของชาติคงตกต่ำตามไป เพราะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกอาหารจากการเกษตรกรรมขายไปยังต่างประเทศทั้งใกล้และไกลยังมีรายงานวิจัยและสัมมนาเรื่องโลกร้อนต่อการเกษตรอีกมากที่ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ อาจมีอิทธิพลต่อการเพิ่มการสังเคราะห์แสงในพืชเกษตรบางชนิดก็มี แต่ต้องใช้น้ำมาก และพืชที่ปลูกนี้ต้องมีการทดลองหาพืชที่สามารถปรับตัวเองต่อสภาวะดังกล่าวรวมไปถึงในสภาวะฝนตกมาก หรือแล้งจัดได้ และเวลาเจริญเติบโตยืดยาวนานขึ้น แต่ถ้ามีปริมาณน้ำจำกัดเมื่อใดผลผลิตจะน้อยลงทันที

4. ประเทศไทยคงได้รับผลกระทบจากโลกร้อนอย่างแน่นอน ถ้าการพยากรณ์ของนักวิทยาศาสตร์นั้นถูกต้อง นั่นหมายความว่า สภาวะวิกฤตของประเทศไทยและของโลกต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศไทยนับว่ายังโชคดีที่มีพื้นที่เกษตรกรรมกระจายสูงกว่าระดับน้ำทะเลหนึ่งเมตรจนเกือบจนถึงเกือบ 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล บางพื้นที่ก็มากกว่า เช่น แม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ เชียงราย ตาก ชัยภูมิ ขอนแก่น ฯลฯ อีกทั้งมีพืชเกษตรหลายๆ ตัวที่ปลูกได้ทุกแห่ง จึงน่าจะได้ใช้โอกาสที่เกิดวิกฤตโลกร้อนมาทำการเกษตรกรรมทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตมากขึ้นได้ ทั้งนี้ต้องรีบดำเนินการค้นคว้าหาชนิดพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ในที่ที่มีฝนตกมาก แล้งจัดหรือน้ำท่วม ซึ่งรัฐคงจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ถ้ารัฐไม่สนใจกับสภาวะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็คงจะเป็นโอกาสที่น่าลันทดอย่างแน่นอน

เอกสารที่แนบ