Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)

16/05/2561 15:52:06 1,502

 

ลักษณะอาการ

ในระยะข้าวออกรวง พบแผลสีต่างๆ เช่น เป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ หรือ มีลายสีน้ำตาลดำ หรือ สีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลาย และทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว


การป้องกันและกำจัด

1.ควรระวังการเกิดโรค ถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความอ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90, พิษณุโลก 2, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1

2.เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกควรที่จะคัดมาจากแปลงที่ไม่เป็นโรค

3.พ่นสารกำจัดโรคพืช ดังนี้ 3.1) ระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคกาบใบเน่า ควรที่พ่นสาร แอ็กวิล (hexaconazole 5% SC กลุ่ม FRAC : 3) อัตราการใช้ 20 – 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร 3.2) ถ้าในระยะข้าวได้ 2 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันและกำจัด โรคเมล็ดด่าง ควรที่จะพ่น แอ็กมูร่า300 (difenoconazole + propiconazole 15+15% EC กลุ่ม FRAC : 3+3) อัตราการใช้ 10-15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอกสารที่แนบ