Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

โรคดอกเน่าในดาวเรือง(Anthracnose)

16/05/2561 16:19:34 1,486

โรคดอกเน่าในดาวเรือง(Anthracnose) ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา: Colletotrichum sp. มักพบการระบาดของโรคในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองควรเฝ้าระวังการเกิดโรคดอกเน่า โดยเฉพาะดาวเรืองที่อยู่ในระยะเริ่มออกดอกถึงระยะดอกบาน ลักษณะอาการของโรค หากพบอาการของโรคดอกเน่า ในระยะดอกตูมจะทำให้ดอกดาวเรืองไม่บาน ถ้าหากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานอาการเน่าเป็นวงแหวน บริเวณกลางดอก โดยดอกที่เกิดโรคกลีบดอกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น

วิธีการป้องกันกำจัดโรคดอกเน่าในดาวเรือง

1. หากพบอาการของโรค ให้เก็บเผาทำลาย

2. การให้น้ำ ควรงดวิธีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เนื่องจากจะทำให้ดอกดาวเรืองมีความชื้นมากเกินไป และเร่งการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น

3. การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช

3.1 ระยะต้นดาวเรือง: ก่อนออกดอก ฉีดพ่นป้องกันโรคดอกเน่า ด้วย ออนเนอร์ (prochloraz 45% W/V EC) อัตรา 10-15 มล. หรือ คลอราส์ (carbendazim 25% + prochloraz 25% WP) อัตรา 25 กรัม ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน ในสภาพที่มีความชื้นสูงหรือฝนตกชุก ควรฉีดพ่นทุก 7 วัน 3.2 ระยะต้นดาวเรือง: ออกดอก-เก็บเกี่ยว ฉีดพ่นป้องกันด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 12%+difenoconazole 12% W/V SC)อัตรา 10-15 มล. หรือ การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15 มล. ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน หากพบการระบาดของโรค ควรฉีดพ่นด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 12%+difenoconazole 12% W/V SC) หรือ การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15 มล. ร่วมกับ โบแทรน75 (dicloran 75% WP) อัตรา 10-15 กรัม หรือ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 50 - 60 กรัม หรือ มาเฟอร์ (mancozeb 80% WP) อัตรา 50-60 กรัม 2-3 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7 วัน

เอกสารที่แนบ