Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

โรคราน้ำฝน

17/07/2562 11:40:46 1,507

"โรคราน้ำฝน" ที่จะมาพร้อมกับฤดูฝนที่กำลังมา คาดน่าจะมีความรุนแรงและพบมากในพื้นที่จังหวัดตอนบนของประเทศ ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยาและตาก โดยสาเหตุหลักของโรคราน้ำฝนเกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytophthora mirabilis) ซึ้งเชื้อราอาศัยอยู่ในดินนานข้ามปี เมื่อมีความชื้นหรือฝนชุก เชื้อราจะเจริญและสามารถแพร่ไปกับน้ำฝนหรือน้ำจากสปริงเกอร์ได้ดี ลักษณะที่รุนแรงของโรคราน้ำฝนมักเกิดกับผลลำไย แผลที่ผลจะมีสีน้ำตาลเข้ม พบทั้งในผลอ่อนระยะพัฒนาเม็ดในดำจนถึงผลระยะก่อนเก็บเกี่ยว จะพบแผลบริเวณเปลือกและขั้วผล ในกรณีมีฝนตกชุกติดต่อกัน จะพบเส้นใยสีขาวขึ้นฟูคลุมผล ต่อมาผลจะเน่า แตก และหลุดร่วง การป้องกัน เมื่อมีฝนตกควรหมั่นพ่นน้ำส้มควันไม้ติดต่อกันทุก 3-4 วัน เพื่อป้องกัน หรือพ่นสารกำจัดโรคพืช ทุก 7-10 วัน สารกำจัดโรคพืชที่แนะนำ ได้แก่ อาร์นิลีน อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง แล้วจึงสลับด้วย แอ็กท็อป35 อัตรา 25-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพควรผสม คอมโบเนนท์ บี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับใบ แพร่กระจายสารและเพิ่มฤทธิ์ในการดูดซึมของสาร

เอกสารที่แนบ