Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

เรียนรู้เกี่ยวกับหนอนห่อใบข้าว

26/05/2554 11:23:04 1,549

ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน เป็นต้นมา พื้นที่ปลูกข้าวในภาคกลาง ได้ประสบปัญหา การแพร่ระบาดของหนอนห่อใบ หลังจากผ่านวิกฤติเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาได้ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากปัญหาความแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง

หนอนห่อใบข้าว มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อตามแต่ละพื้นที่ เช่น หนอนม้วนใบข้าว หนอนใบขาว หนอนกินใบข้าว มีวงจรชีวิต เป็นไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย โดยช่วงที่เป็นหนอนเป็นช่วงทำลายต้นข้าวมากที่สุด

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าว ส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากัน เพื่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้หนอน จะทำลายใบข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ถ้าหนอนมีปริมาณมาก จะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ซึ่งปกติจะพบตัวหนอนเพียงตัวเดียวในใบห่อนั้น ในระยะข้าวออกรวงหนอน จะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิต เพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนา เขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง หนอนใช้ใบข้าวห่อหุ้มตัว และกัดกินอยู่ภายใน บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นทางขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นข้าวลดลง

การป้องกัน

1) ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน

2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า

3) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดและสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือสารผสมสารไพรีทรอด์สังเคราะห์ ในข้าวอายุหลังหว่าน 40 วัน เพราะศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของหนอนห่อใบข้าว รุนแรงได้ในระยะข้าวตั้งท้อง-ออกรวง

4) เมื่อเริ่มมีการระบาด ควรลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน และ ปุ๋ยยูเรีย เพราะจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอต่อแมลงมากขึ้น

การกำจัด

ช่วงข้าวเล็ก (อายุ 30-50 วัน) : ใช้ น็อคบัค 400 (ไตรอะโซฟอส 40%EC) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ช่วงข้าวโต (อายุ 50-90 วัน) : ใช้ แฟนนี่ (คาร์ดบซัลแฟน 20%EC) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไมโมน่า 45 (EPN 45%EC) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอกสารอ้างอิง : http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug03.html

เอกสารที่แนบ