Logo
บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด
AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.

“เพลี้ยกระโดด ปัญหาใหญ่ของชาวนาไทย”

26/05/2554 11:24:46 1,452

ในช่วงปลายปี 2552 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ปลูกข้าวเขตภาคกลางและ ภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วย จังหวัด อ่างทอง สิงห์บุรี,สุพรรณบุรี,กำแพงเพชร,นครสวรรค์,อุทัยธานี ได้ประสพปัญหาภัยพิบัติจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าทำลายนาข้าว ของเกษตรกรจนทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายอย่างมาก

โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงจำพวกปากดูดตัวเต็มวัย มีลำตัวสีน้ำตาลมีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ระยะไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถทำลายข้าว โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำ ท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวใบเหลืองคล้ายน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆเรียกว่าอาการไหม้ ( hopper burn ) นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ต้นเตี้ยใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้นปลายใบบิดเป็นเกลียว ถ้าระบาดมากข้าวจะแห้งตายเป็นบริเวณ

สาเหตุที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก สภาพอากาศที่แปรปรวน อากาศร้อนขึ้น ซึ่งเหมาะแก่การแพร่ระบาดของแมลง และ การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านต่อไร่หนาแน่นเกินความจำเป็นจึงเกิดความร้อนชื้น ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าทำลายง่ายและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว, การใช้ปุ๋ย 46-0-0 (ยูเรีย) มากเกินไปทำให้ต้นข้าวอ่อนแอต่อแมลง

การป้องกันกำจัดใช้สาร บูโพรเฟซิน( คุมไข่-ยับยั้งการลอกคราบของเพลี้ยกระโดด), แอ็กนาซิน ( สารฟิโนบูคาป) , ยาหว่านโกรฟูราน ( คาร์โบฟูราน 3 จี ) หว่านโดยใช้อัตรา 5 กก./ ไร่ ช่วงข้าวอายุ 25-30วัน หลีกเลี่ยงการใช้สารกลุ่มไพรีทรอย์สังเคราะห์ เช่น สารไซเปอร์เมทริน ,เดลต้าเมทริน,ไซฮาโลทริน ซึ่งสารกลุ่มนี้จะทำลายศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้เป็นการเร่งการระบาดมากขึ้น

เอกสารที่แนบ